วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมปล่อยหนังสือ

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com

สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร  ปัจจุบันดูแลงานด้านกลยุทธ์งานบุคคลขององค์กร
หลายวันก่อน  ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเดินชมกิจกรรม  "งานปล่อยหนังสือ"  ซึ่งจัดขึ้นบริเวณอาคารหอศิลปกรุงเทพมหานคร  ถือเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจทีเดียว

ภาพซ้าย  การจัดกิจกรรม "งานปล่อยหนังสือ" ณ หอศิลป ของกรุงเทพมหานคร เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2555  ที่ผ่านมา

แนวคิดของกิจกรรมนี้  เท่าที่สังเกตดูเขามีวัตถุประสงค์ คือ ให้ผู้ที่สนใจและรักในการอ่าน  ได้มีโอกาสนำหนังสือที่ตนเห็นว่าไม่ได้อ่านหรืออยากแบ่งปันให้คนอ่านได้อ่านบ้าง  มาใช้กิจกรรมนี้เป็นเวทีปล่อยหนังสือ  เพื่อแลกเปลี่ยนหนังสือกัน

แนวคิดนี้  ผู้เขียนรู้สึกสนใจไม่น้อยทีเดียว  และน่าจะมีการนำประยุกต์หรือปรับใช้ในองค์กรแต่ละแห่งได้ไม่น้อยทีเดียว  เพราะคิดว่าหลาย ๆ ท่านไม่น้อยทีเดียว ที่จะต้องมีหนังสืออยู่กับตัวจำนวนมาก  เมื่อเวลาผ่านไปแล้วเราเห็นว่า  หนังสือบางเล่มเราอาจจะเคยอ่านและอาจจะอยู่นอกความสนใจของตัวเราแล้วในปัจจุบัน  แต่เมื่อพิจารณาแล้ว  ก็น่าจะเป็นประโยชน์แก่คนอื่น ๆ  ซึ่งเราก็น่าจะมีการจัดเวทีเหล่านี้ให้แก่ทุกท่านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้  ผ่านการนำหนังสือที่ตนสนใจ  แต่ไม่มีความจำเป็นแล้วในปัจจุบัน  มาให้คนอื่นได้มีโอกาสเพิ่มมุมมองความคิดกันได้ไม่น้อยทีเดียว 

และเมื่อไม่นานมานี้  ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านบทความหนึ่งเขาได้กล่าวไว้อย่างน่าคิดทีเดียว คือ คนเราควรที่จะอ่านหนังสือที่แตกต่างจากความสนใจตามปรกติของตัวเราเองอย่างน้อยเดือนละหนึ่งเล่ม  ทั้งนี้  เพื่อเป็นการ "เพิ่มประชาธิปไตยทางความคิด"  ให้แก่ตัวเรา 

หากอธิบายอีกลักษณะหนึ่ง ก็คือ การสร้างมุมมองของตัวเราให้มีความหลากหลาย มีมุมมองให้กว้างเป็นภาพใหญ่ จะทำให้การพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ของตัวเรานั้นได้พิจารณาในทุก ๆ ประเด็นที่เป็นไปได้มากขึ้น  เป็นการก้าวไห้ออกไปจากกรอบความคิดเดิม ๆ ของตัวเรานั่นเอง

ถือเป็นมุมมองที่คมคายมากทีเดียวครับ  และทุก ๆ ท่านก็สามารถนำมาปรับใช้ได้   การจัดกิจกรรมในลักษณะนี้  ซึ่งรวมถึงการอ่านหนังสือ  ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนได้ดีทีเดียวครับ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

คลินิกสุขภาพทางการเงิน

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak_cpb@yahoo.com surasak_cpb@hotmail.com

สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร  ปัจจุบันดูแลงานด้านกลยุทธ์งานบุคคลขององค์กร

 ภาพซ้าย ผู้เขียนกับกิจกรรมภายในหน่วยงาน ในการเปิดตัวกิจกรรม Shared Values ที่ผู้เขียนสังกัด

ช่วงนี้  ผู้เขียนอยู่ระหว่างการริเริ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Shared Values ของหน่วยงานต้นสังกัด  ผ่านการทำสองกิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมมองตัวเองออก บอกตัวเองได้  และ  กิจกรรมคลินิกสุขภาพทางการเงิน  ซึ่งในแต่ละกิจกรรม 

ซึ่งก็ได้มีการดำเนินงานในลักษณะของการ Action ให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา  เช่น การประชุมกลุ่ม Focus Group  การร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานในภาพใหญ่ของหน่วยงาน และการสร้างสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นสารที่จะสื่อออกไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ซึ่งในแต่ละกิจกรรมก็จะต้องมีข้อติดขัดในการดำเนินการอยู่บ้าง  แต่ในแง่หนึ่งทุก ๆ ข้อติดขัดหรืออุปสรรค ก็คือ ส่วนหนึ่งของการเติบโตทางความคิดของผู้ดำเนินโครงการเช่นกัน

ในขั้นตอนต่อไป  ในเรื่องของกิจกรรม "คลินิกสุขภาพทางการเงิน"  ผู้เขียนก็ตั้งใจว่าจะมุ่งเป้าไปสู่กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้มาร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกัน   โดยผู้ดำเนินโครงการก็จะตั้งเป่าไปสูการตั้ง  "เครือข่ายการให้คำปรึกษา"  โดยมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มที่มีความเสี่ยง  ซึ่งประสบปัญหาอยู่ และต้องการคำปรึกษา  ที่จะต้องดึงคนกลุ่มเหล่านี้มาเข้ามาร่วมในการติวเนื้อหา และให้ความรู้  ดึงเป้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนระยะยาว  โดยมีเป้าหมายสุดท้ายก็คือ  "การเปลี่ยนแปลง" 

ในโอกาสต่อไปผู้เขียนจะมานำเสนอความก้าวหน้าอีกครั้งหนึ่งครับ

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ใช้เทคนิค 4P เพิ่มเสน่ห์ในการทำงานให้แก่ตัวเรา

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak_cpb@yahoo.com surasak_cpb@hotmail.com

สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร
ผู้เขียนไม่ได้เข้ามาเขียนใน Blog นานเกือบปีทีเดียว  จริง ๆ  แล้วมีเรื่องอยากเขียนอยากเล่ามากมายแต่ไม่มีเวลาจริง ๆ  

ก่อนอื่นก็ขอแจ้งให้ทุกท่านได้รับทราบว่า  ตัวผู้เขียนพึ่งจะย้ายหน้าที่ความรับผิดชอบจากเดิมที่ทำหน้าที่คอยดูแลงานด้านนโยบายและแผน  มาดูแลในส่วนของงานด้าน HR ขององค์กร โดยจะเป็นในเรื่องของแผนกลยุทธ์ทางด้าน HR ขององค์กร 

ซึ่งก็ถือเป็นโอกาสที่ดีของตัวผู้เขียนด้วยครับ  ที่ได้มีโอกาสเข้าไปรับผิดชอบและเป็นการศึกษาในงานด้าน HR  ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนลักษณะงานที่ต้องรับผิดชอบเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี  ของตัวผู้เขียนเลยทีเดียวครับ

เข้าประเด็นเรื่องที่จะนำเสนอในบทความครั้งนี้เลยครับ ก็คือ ในบทความนี้  ผู้เขียนอยากจะนำเสนอเทคนิคที่ผู้สนใจสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียวครับ  รวมทั้งสามารถที่จะสร้าง "เสน่ห์" ของตัวเราให้แก่หัวหน้างานได้หันมามองตัวเรามากขึ้น (ในเรื่องของงาน) ซึ่งตัวผู้เขียนเองก็ได้ลองนำไปใช้และพบว่าใช้ได้ทีเดียวครับ 

โดยเทคนิคนี้  ผู้เขียนได้ประยุกต์มาจากแนวทาง  "การนำเสนอความคืบหน้าการทำวิจัย"  ซึ่งคิดว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะรู้จักกันดี  คือ หากใครเคยเรียนในระดับปริญญาโท หรือเคยทำวิจัย เทคนิคนี้ทุกคนได้ทราบก็ต้องร้องอ๋อ

4P ในที่นี้  จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ประเด็นหลัก (ตามชื่อครับ)  เริ่มต้นเลย

P แรก  คือ Pheomena หรือ "ที่มา"  ในการนำเสนอความคืบหน้า  หรือหัวข้อการวิจัยในครั้งแรก  เราต้องเริ่มต้นในส่วนของที่มาของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ก่อนเสมอ  ซึ่งผู้เขียนก็เลยนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน  คือ  เราสามารถนำมาปรับใช้ในประเด็นที่ว่า  หากเราจะต้องนำเสนอความคืบหน้าในงานให้แก่ผู้บริหารของเราได้ทราบความคืบหน้า  หรือการพูดคุยเพื่อหารือในเรื่องงานต่าง ๆ กับหัวหน้างานของเรา  รวมถึงการประชุมเพื่อถ่ายทอดงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของเราก็ตาม

ลักษณะของการนำเสนอ "ที่มา"  นี้  จะมีประโยชน์มาก  เพราะจะเป็นการดึงความสนใจให้แก่คู่สนทนาเข้าสู่การพูดคุยได้อย่างดีทีเดียว....

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การจัดกระบวนการกลุ่ม (group facilitation)

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak_cpb@yahoo.com surasak_cpb@hotmail.com

สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร 

(บทความนี้ ผู้เขียนคัดลอกมาจากหนังสือ “101 เคล็ดวิชาที่ฉันได้มาจาก Harvard Business Shcool” ของ Michael W.Preis and Matthew Frederick) โดยผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการนำเนื้อหาที่ได้รับจากการอ่านบทความในหนังสือที่ได้อ้างอิงไว้ข้างต้นนี้ มาบันทึกไว้ ก็เพียงเพื่อใช้เป็นการเตือนความจำและสะดวกต่อการค้นหา ในการนำมาปรับใช้งานในองค์กรที่ผู้เขียนทำงานอยู่ต่อไป

การจัดกระบวนการกลุ่ม หรือ group facilitation นี้ จะช่วยให้กลุ่มที่มีความสนใจหลากหลาย สามารถมีเป้าหมายร่วมกันได้ ผู้จัดกระบวนการกลุ่มมืออาชีพส่วนใหญ่ แทบจะไม่มีความรู้ในสายงานของกลุ่มที่ตนเข้าไปช่วยเหลือ แต่พวกเขาเชี่ยวชาญในการพาผู้คนไปในทิศทางเดียวกัน พวกเขาจะเป็นกลาง โดยชี้นำการพูดคุยและอภิปรายกัน แต่ไม่ชี้นำผลที่จะออกมา

ขั้นตอนของการจัดกระบวนการกลุ่ม  ที่เป็นที่นิยม คือ F – S – N – P หรือ Form, Storm, Norm, Perform ได้แก่
- จัด (form)
o จัดให้มีการประชุมกลุ่มขึ้นมา
o หารือเรื่องวาระการประชุม
o กำหนดความคาดหวังและกฎเกณฑ์พื้นฐาน
o จัดตารางเวลา
o วางกรอบของปัญหา และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ
- ระดม (storm) หรือการระดมสมอง (brainstorm)
o ให้คนในกลุ่มช่วยกันคิดหากลยุทธ์และวิธีการแก้ไขปัญหาให้มากที่สุด
o ไม่วิพากษ์วิจารณ์
o จดบันทึกทุก ๆ ทางเลือกที่มีผู้เสนอ แม้กระทั่งทางเลือกที่ดูเป็นไปไม่ได้ก็ตาม
- หาข้อสรุป (norm)
o หารือถึงความสำคัญของทางเลือกต่าง ๆ ที่ได้จากการระดมสมอง
o มองหาแบบแผนร่วมกันและจุดหรือประเด็นที่ทับซ้อนกัน
o จัดประเภทตามความคล้ายคลึงกัน
o จัดเลียงลำดับตามความสำคัญหรือคะแนน
- ปฏิบัติ (perform)
o ช่วยให้กลุ่มตกลงว่าจะใช้วิธีแก้ปัญหาและทางออกใด
o กำหนดว่าจะต้องทำอะไรต่อไป

การจัดกระบวนการกลุ่ม ไม่ใช่กระบวนการที่เป็นเส้นตรงทื่อ ๆ ในแต่ละระยะมักจะมีการวนตามวงจร F – S – N – P ซ้ำ ๆ นอกจากนั้น บ่อยครั้งที่เมื่อถึงขั้นตอนการปฏิบัติ คนในกลุ่มกลับตัดสินใจถอยแล้วเริ่มกระบวนการตั้งแต่ตอนแรกซ้ำอีกครั้ง

ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านกรณีศึกษาที่ได้มีการนำแนวทางนี้มาปรับใช้ในองค์กร  โดยเป็นการแก้ไขปัญหาของ "บริษัท ฮุนไดมอร์เตอร์ (อเมริกา)"  ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990  (อ้างอิงจาก : หนังสือ "หัวใจผู้นำ" ซึ่งแต่งโดยสตีฟ ฟอร์บส์ และ จอห์น พรีวาส)  ช่วงเวลาดังกล่าว  ฮุนไดกำลังสูญเสียทิศทางของตน  และถูกล้อมไว้ด้วยคู่แข่งทางการค้าขนาดใหญ่ที่มุ่งจะเขมือบองค์กร

ในช่วงเวลาดังกล่า  กรรมการบริษัท  ได้แต่งตั้ง  "ฟินบาร์  โอนีล"  ให้ขึ้นรับตำแหน่ง CEO คนใหม่ขององค์กร  โดยที่หากพิจารณาจากภูมิหลังของเขาแล้ว  ตัวเขาอาจจะไม่เหมาะกับซีอีโอในธุรกิจยานยนต์แต่อย่างใด  เนื่องจากเขาก้าวมาจากการเป็นทนายให้แก่ฮุนไดมาก่อน  โดยไม่มีประสบการณ์ในเรื่องของการออกแบบยานยนต์แต่อย่างใด......

อ่านดูแล้วน่าสนใจนะครับ  อยากให้ผู้อ่านทุกท่านที่อาจจะยังเป็นมือใหม่ในด้านการจัดการองค์กร หรือเป็นมือที่มีประสบการณ์มากแล้ว ได้ลองนำไปใช้ดูครับ ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากทีเดียว  ลองพิจารณาดูครับ