หนังสือ 44 เฟรมเวิร์ก สุดยอดเครื่องมือแก้ปัญหา (2556) ของสำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
ถือเป็นหนังสือในหมวด ด้านการบริหารองค์กร ที่อยากแนะนำให้หลาย ๆ ท่านที่ทำงานด้านนี้ ได้หามาอ่านกันครับ
ผมจึงคัดตอนบางส่วนจากบทนำ ในส่วนที่หนังสือกล่าวถึง ความสำคัญของเฟรมเวิร์ก
โดยการยกตัวอย่าง ที่ปรึกษา ซึ่งมีความกระชับดีมาให้ลองอ่านกัน
เริ่มจาก มีคำถามที่ว่า ...
... เพราะเหตุใด เมื่อที่ปรึกษาเดินทางไปพบลูกค้าในครั้งแรก ก็สามารถให้คำปรึกษากับลูกค้าได้เลย โดยสามารถให้คำแนะนำจากมุมมองผู้เชี่ยวชาญได้ทันที....
เขาบอกว่า...เพราะที่ปรึกษามีอาวุธที่สำคัญอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ เฟรมเวิร์ก นั่นเอง
เนื่องจากการที่ลูกค้าหันมาจ้างที่ปรึกษา ก็เพราะว่าลูกค้า มีปัญหา
และปัญหานั้น ก็เกิดจาการขาดการมองภาพรวม ที่ทำให้เกิดปัญหา 2 ประการ ตามมา นั่นคือ
1. ทำให้ลูกค้ามองไม่เห็นโอกาสที่มีความสำคัญ และ...
2. ทำให้ลูกค้ามีการใช้ ทรัพยากรทางด้านการบริหาร (3M และ 1I คือ Man Money Material and Intelligence) ไปกับเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ และไม่สามารถสร้างผลงานให้คุ้มค่ากับทรัพยากรที่บริษัทได้ทุ่มเทลงไป
ซึ่งที่ปรึกษาเมื่อเข้ามาให้คำปรึกษา ก็ได้นำเฟรมเวิร์กมาใช้ในการ ตรวจประเมินบริษัท ของลูกค้า
แล้วจึงนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งชี้ข้อบกพร่องจากการขาด การมองภาพรวม และจุดที่ลูกค้ามองข้ามไป
จากนั้น ก็ทำการแก้ไขให้ธุรกิจของลูกค้า มีความสอดคล้องกันในภาพรวม การลงทุนของลูกค้าจึงกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง
ทั้งหมดนี้ คือ การตรวจประเมินลูกค้าด้วย MECE[1]
นอกจากนั้น ที่ปรึกษาจะใช้การนำเสนอกรอบ FPD (Format-Process-Data) ให้กับลูกค้าเป็นลำดับแรก คือ...
Format เป็นแบบฟอร์มสำหรับเขียน Output ในการ สำรวจปัญหาเพื่อบอกคำเสนอแนะ ให้กับลูกค้า
Process เป็นการสอบหากระบวนการและขั้นตอนของปัญหา ที่ปรากฎใน Output
Data เป็นการรวบรวบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็น จากตัวลูกค้า
เมื่อได้นำข้อมูล มาคิดวิเคราะห์แล้ว ที่ปรึกษาก็จะให้ คำชี้แนะ ในการปฏิรูปองค์กรต่อไป
ตัวที่ปรึกษาเองนั้น เวลาที่ทำ FPD ก็จะพิจารณาถึง กรอบเฟรมเวิร์ก อยู่เสมอ
จุดแข็งของที่ปรึกษา จึงอยู่ที่ความสามารถในการแสดงมุมมอง ภาพรวมและแก้ไขจุดบกพร่อง หรือความผิดเพี้ยน ความคิดของลูกค้าได้
แต่อย่างไรก็ตาม คนที่จะต้องลงมือทำหรือแก้ไขปัญหา ก็คือ ตัวลูกค้า อยู่ดี
ดังนั้น ไม่ว่าจะอย่างไรก็หนีไม่พ้นที่ ลูกค้า จะต้องลงมือทำหรือแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
จะคาดหวังให้คนอื่นมาช่วยทั้งหมดนั้น คงไม่ดีเท่าไร
ถือเป็นหนังสือในหมวด ด้านการบริหารองค์กร ที่อยากแนะนำให้หลาย ๆ ท่านที่ทำงานด้านนี้ ได้หามาอ่านกันครับ
ผมจึงคัดตอนบางส่วนจากบทนำ ในส่วนที่หนังสือกล่าวถึง ความสำคัญของเฟรมเวิร์ก
โดยการยกตัวอย่าง ที่ปรึกษา ซึ่งมีความกระชับดีมาให้ลองอ่านกัน
เริ่มจาก มีคำถามที่ว่า ...
... เพราะเหตุใด เมื่อที่ปรึกษาเดินทางไปพบลูกค้าในครั้งแรก ก็สามารถให้คำปรึกษากับลูกค้าได้เลย โดยสามารถให้คำแนะนำจากมุมมองผู้เชี่ยวชาญได้ทันที....
เขาบอกว่า...เพราะที่ปรึกษามีอาวุธที่สำคัญอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ เฟรมเวิร์ก นั่นเอง
เนื่องจากการที่ลูกค้าหันมาจ้างที่ปรึกษา ก็เพราะว่าลูกค้า มีปัญหา
และปัญหานั้น ก็เกิดจาการขาดการมองภาพรวม ที่ทำให้เกิดปัญหา 2 ประการ ตามมา นั่นคือ
1. ทำให้ลูกค้ามองไม่เห็นโอกาสที่มีความสำคัญ และ...
2. ทำให้ลูกค้ามีการใช้ ทรัพยากรทางด้านการบริหาร (3M และ 1I คือ Man Money Material and Intelligence) ไปกับเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ และไม่สามารถสร้างผลงานให้คุ้มค่ากับทรัพยากรที่บริษัทได้ทุ่มเทลงไป
ซึ่งที่ปรึกษาเมื่อเข้ามาให้คำปรึกษา ก็ได้นำเฟรมเวิร์กมาใช้ในการ ตรวจประเมินบริษัท ของลูกค้า
แล้วจึงนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งชี้ข้อบกพร่องจากการขาด การมองภาพรวม และจุดที่ลูกค้ามองข้ามไป
จากนั้น ก็ทำการแก้ไขให้ธุรกิจของลูกค้า มีความสอดคล้องกันในภาพรวม การลงทุนของลูกค้าจึงกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง
ทั้งหมดนี้ คือ การตรวจประเมินลูกค้าด้วย MECE[1]
นอกจากนั้น ที่ปรึกษาจะใช้การนำเสนอกรอบ FPD (Format-Process-Data) ให้กับลูกค้าเป็นลำดับแรก คือ...
Format เป็นแบบฟอร์มสำหรับเขียน Output ในการ สำรวจปัญหาเพื่อบอกคำเสนอแนะ ให้กับลูกค้า
Process เป็นการสอบหากระบวนการและขั้นตอนของปัญหา ที่ปรากฎใน Output
Data เป็นการรวบรวบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็น จากตัวลูกค้า
เมื่อได้นำข้อมูล มาคิดวิเคราะห์แล้ว ที่ปรึกษาก็จะให้ คำชี้แนะ ในการปฏิรูปองค์กรต่อไป
ตัวที่ปรึกษาเองนั้น เวลาที่ทำ FPD ก็จะพิจารณาถึง กรอบเฟรมเวิร์ก อยู่เสมอ
จุดแข็งของที่ปรึกษา จึงอยู่ที่ความสามารถในการแสดงมุมมอง ภาพรวมและแก้ไขจุดบกพร่อง หรือความผิดเพี้ยน ความคิดของลูกค้าได้
แต่อย่างไรก็ตาม คนที่จะต้องลงมือทำหรือแก้ไขปัญหา ก็คือ ตัวลูกค้า อยู่ดี
ดังนั้น ไม่ว่าจะอย่างไรก็หนีไม่พ้นที่ ลูกค้า จะต้องลงมือทำหรือแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
จะคาดหวังให้คนอื่นมาช่วยทั้งหมดนั้น คงไม่ดีเท่าไร
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข
[1]
วิธีการมองภาพรวมทั้งหมด โดยที่เนื้อหาครบถ้วน ไม่ซ้ำซ้อน เรียกว่า “MECE (Mutually Exclusive Collectively Exhaustive)” เป็นคีย์เวอร์ดของการคิดแบบ ตรรกะ ซึ่บพัฒนาขึ้นโดย บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก
McKinsey