วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความรู้พื้นฐานเพื่อใช้ในการทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ ตอน 2

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
ที่อยู่ : 173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak_cpb@yahoo.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/

สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร
บทความนี้  ผู้เขียนรวบรวมข้อมูลที่ผู้เขียนใช้งานอยู่  ซึ่งได้รับทัี้งจากการเข้าฟังสัมนา และช้อตโน้ตต่าง ๆ มาเรียบเรียงให้อ่านง่าย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่มีความรู้หรือความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจเลย  พอที่จะนำไปต่อยอดความคิดของตนได้  โดยเฉพาะเวลาเราอ่านหนังสือพิมพ์  และพบคำศัพท์เหล่านี้ก็น่าที่จะทำให้เราเข้าใจ หรือมองภาพรวมได้มากขึ้น  เพราะจากประสบการณ์ของตนเองในอดีต รู้สึกว่าเป็นปัญหามาก  คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ทุกท่านได้บ้้างครับ
 
ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน (ปี 2554)  ตอน 2....
2.4.2  ดุลบริการ  ปีละประมาณ 4 แสนล้านบาท  ประกอบด้วย  การท่องเที่ยว  การประกันภัย (เปิดเสรีเฉพาะการประกันวินาศภัย  การประกันชีวิตยังไม่เปิดเสรี  ด้วยเหตุนี้ส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่สุดในประเทศไทย 60 เปอร์เซ็นต์  จึงเป็นของ AIA ด้วยเหตุเป็นผู้เข้ามาก่อน)  และ ค่าระวางเรือ
2.4.3  ดุลบัญชีเดินสะพัด  คือ  ดุลการค้า + ดุลบริการ
2.4.4  การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ    ประกอบด้วย
-  การลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง (FDI – Foreign Direct Investment)  คือ  การเข้ามาลงทุนในประเทศไทย  โดยใช้การตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย  ปัจจุบันที่ต้องออกไป  คือ  คาร์ฟูร์   เพราะได้รับผลกระทบจากการขาด หุ้นส่วน หรือ Partnership  (เนื่องจาก Lotus  เป็นของ CP)    ดังนั้น  7-11  จึงเป็นตัวทำลายระบบร้านค้า โชว์ห่วย  ในประเทศไทย   ไม่ใช่ Super Store 
-  การกู้ยืมเงินในภาครัฐ จะเป็นการกู้ยืมเงินระยะยาวเป็นหลัก
-  การลงทุนในหลักทรัพย์  (Portfolio Investment)  จะมีสองทาง  คือ  ตลาดหุ้น  และตลาดพันธบัตร  ดังนั้น  กระแสเงินดอลลาห์ที่ไหลเข้าประเทศตามมาตรการ QE2  ของสหรัฐอเมริกาเมื่อปลายปี 2553  จนถึงสิ้นสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2554  จึงมุ่งเข้ามาที่ตลาดพันธบัตร  เนื่องจากอัตราผลตอบแทนตลาดพันธบัตรไทยอยู่ที่ 16 เปอร์เซ็นต์   และส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง 11 เปอร์เซ็นต์  ผลลัพท์ที่ต่างชาติจะได้กลับไปคือ 27 เปอร์เซ็นต์
-  วิเทศธนกิจ  คือ  การเคลื่อนย้ายเงินออกจากบริษัทแม่  มาบริษัทลูก  เช่น  การที่บริษัทต่างชาติ มาซื้อกิจการในประเทศไทย  เช่น  การซื้อธนาคารต่าง ๆ CIMB  UO
กล่าวโดยสรุป  การไหลบ่าเข้ามาของเงินต่างประเทศในรอบสองปีที่ผ่านมา  จะมุ่งเข้าไปที่ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรเป็นหลัก
2.4.5  ดุลการชำระเงิน  คือ  ดุลบัญชีเดินสะพัด+การเคลื่อนย้ายเงินทุน
2.4.6  ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ  ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ (อังกฤษ: Foreign exchange reserves - ย่อ Forex reserves) ความหมายตรงตัวคือ เงินตราต่างประเทศ และ พันธบัตรที่ถือครองโดย ธนาคารกลาง และ หน่วยงานที่ดูแลทางการเงิน  อย่างไรก็ตาม ด้วยความหมายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น รวมไปถึง อัตราแลกเปลี่ยน,ทองคำ,สิทธิพิเศษในการถอนเงิน (Special Drawing Rights ย่อ - SDRs) และ การจัดอันดับเงินสำรองจาก IMF   
ด้วยความหมายที่กว้างขึ้นนี่เอง จึงมีการใช้คำที่มีความตรงตัวยิ่งขึ้นด้วยคำว่า "ทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ" หรือ "ทุนสำรองระหว่างประเทศ" ซึ่งหมายถึงสินทรัพย์ของธนาคารกลางที่อยู่ในหลายสกุลเงิน โดยมากมักเป็นสกุล เหรียญสหรัฐ รวมไปถึง สกุลเงิน ยูโร ปอนด์สเตอร์ลิง และ เยน   ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักประกัน ได้แก่การผลิตเงินในสกุลของประเทศนั้นนั้น และ เป็นทุนสำรองต่างๆที่ฝากไว้ ณ ธนาคารกลาง โดยรัฐบาล หรือ สถาบันการเงิน
ทุนสำรองระหว่างประเทศมีประโยชน์[1] คือ
- ใช้เป็นทุนสำรองเงินตราส่วนหนึ่ง
- ใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับชำระเงินให้กับต่างประเทศ
- ใช้เป็นทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศส่วนหนึ่ง เพื่อให้มีเสถียรภาพมั่นคง

ในบางประเทศได้มีการเปลี่ยนทุนสำรองระหว่างประเทศให้ไปอยู่ในการดูแลของกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ (Sovereign Wealth Funds) เพื่อนำทุนสำรองดังกล่าวที่มีอยู่มากเกินระดับความต้องการของรัฐบาล ไปลงทุนต่อเพื่อหาผลประโยชน์เพิ่มเติม

สำหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ รูปแบบการบริหารทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นรูปแบบดั้งเดิมคือเก็บในรูปของสินทรัพย์ที่มั่นคง และมีสภาพคล่องสูง ส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้ทางการเงินในตลาดเงินที่ให้ผลตอบแทนคงที่ หรือในรูปของเงินฝากธนาคารพาณิชย์ เป็นสินทรัพย์ระยะสั้น[1] ส่วนทางด้านการจัดตั้งกองทุนความมั่นคงแห่งชาตินั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาของกระทรวงการคลัง

กล่าวโดยสรุป  หากดุลการชำระเงิน  (ข้อ 2.4.5) เกินดุลหนี้สินของประเทศก็ลดลง  มีเงินทุนสำรองมากขึ้น  หากขาดดุลก็จะทำให้ต้องไปชำระหนี้สินของประเทศมากขึ้น  เงินทุนสำรองก็ลดลง
3. รายได้  (National Income)  หมายถึง  ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต  ซึ่งประกอบด้วย
3.1  ที่ดิน      ผลตอบแทน  คือ  ค่าเช่า
3.2  แรงงาน  ผลตอบแทน  คือ  ค่าจ้าง
3.3  ทุน        ผลตอบแทน  คือ  ดอกเบี้ย
3.4  ผู้ประกอบการ  ผลตอบแทน  คือ  กำไร
ปัจจุบัน  แรงงานไทยมีอยู่ในระบบ  ประมาณ 11 ล้านคน    และอยู่นอกระบบประมาณ 21 ล้านคน  ซึ่งไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ  (เช่น  ประกันสังคม)  จึงเป็นที่มาการกำหนดมาตรการการดูแลโดยใช้ระบบบัตรทอง (30 บาท)   กลุ่มคนเหล่านี้  ไม่มีบำเหน็จ  บำนาญ   เป็นที่มาของภาครัฐ  ที่จะต้องมีการออกกฎหมาย  “การออมเงินแห่งชาติ”  หรือ  กบช.

คนต่างจังหวัด  กับคนเมือง   มีตัวเลขแสดงถึงความเหลื่อมล้ำที่ระดับ 13 เปอร์เซ็นต์  (ที่มาจาก : สศช.)
คนรวยสุด 20 เปอร์เซ็นต์แรก จะครอบครองสินทรัพย์ที่ระดับ 60 เปอร์เซ็นต์
คนจนสุดจะครอบครองสินทรัพย์เพียง  5 เปอร์เซ็นต์

คนที่มีบัญชีเกิน 50 ล้านบาท  มีประมาณ 7,000 บัญชี  หมายถึง  ผู้ที่มีภาระเสียภาษีในระดับสูงสุดที่ 37 เปอร์เซ็นต์  ตามกรอบสูงสุดของประเทศมีเพียงเท่านี้  เป็นที่มารายได้เข้ารัฐมี่จำนวนน้อย  คนชั้นกลาง  คือ  ผู้แบกรับภาระภาษีเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ
โจทย์ที่สำคัญที่สุดของทุกประเทศ  (โดยเฉพาะประเทศไทย)  จึงอยู่ที่ว่า  ทำอย่างไรจึงจะลดความเหลื่อมล้ำ  และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของคนจน  หรือคนยากไร้ 

ในทางเศรษฐศาสตร์  ประเด็นความเหลื่อมล้ำหรือความยากจน  เป็นที่มาของความขัดแย้งในสังคมที่แท้จริง  ไม่ใช่ประเด็นหรือปัญหาทางการเมืองแต่อย่างใด (เช่น พรรคการเมืองโกงกิน  ทะเลาะกัน  ขัดแย้งกัน  เหล่านี้ไม่ใช่ประเด็นที่แท้จริง  หรือประเด็นหลัก)   นโยบายภาครัฐ  ที่เกิดขึ้นจากพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง  จึงพยายามที่จะตอบโจทย์ให้แก่คนเหล่านี้  ว่าเขาจะได้ผลตอบแทนอะไรบ้างจากนโยบายเหล่านี้  ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม  เช่น  การลดภาษีรายได้  หรือภาษี VAT การรักษาพยาบาล (การเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาล) กองทุนหมู่บ้าน (การเข้าถึงแหล่งเงินกู้)  เป็นต้น

เศรษฐศาสตร์มหภาค  คือ  ตัวชี้วัดสุขภาพของประเทศ  เพราะในทางเศรษฐกิจ  กลุ่มนายทุนกับผู้ประกอบการ  คือ  ผู้ที่ได้รับผลตอบแทนมากที่สุด  และวิชาว่าด้วย  “เศรษฐศาสตร์การเมือง”  พึ่งจะเริ่มมีการจัดสอนกันอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย  เมื่อห้าปีที่ผ่านมา  (นับแต่ปี 2548)

การแทรกแทรงตลาดของรัฐบาล  ทำให้เกิด
1.  ความไม่สมบูรณ์ของตลาด  เกิดจากตลาดมีการผูกขาดขึ้น  เช่น  ตลาดเงิน  น้ำมัน  เหล้า  เครื่องดื่ม   ปัจจัยการผลิต  ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี  จึงมีคำกล่าวที่ว่า  “การเข้ามาของรัฐ  คือ  การหาที่ยืนให้กับผู้แพ้” 
2.  ความล้มเหลวของตลาด  (การเข้ามาของภาครัฐ)  รัฐจำเป็นต้องมีกรอบ  คือ  ต้องไม่เข้ามาทุกเรื่อง  เพราะจะทำให้ก้าวไปสู่  Fail State  หรือ  รัฐที่ล้มเหลว   คือ  รัฐไม่สามารถทำให้รัฐเกิดความสงบ (ในทางตลาด) ได้  หรือการรักษาความเรียบร้อยในสังคมได้   ลักษณะของสินค้าในตลาด  ที่รัฐเข้ามาเป็นผู้ทำเอง  ประกอบด้วย
2.1  สินค้าสาธารณะ (Public Goods)  คือ  การป้องกันประเทศ  รัฐจะเป็นผู้ทำทั้งหมด  การรักษาความสงบ  การรักษาความยุติธรรม  ตลอดจนการกำหนดระเบียบสังคม  การบังคับใช้กฎหมาย
2.2  สินค้าที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคม (Merit Goods)  คือ  เป็นหน้าที่หลักของรัฐ  โดยอาจจะให้ภาคเอกชนดำเนินการ  แต่รัฐต้องเป็นผู้กำหนดค่าบริการ  เช่น  การศึกษาและการสาธารณสุข
2.3  สินค้าที่มีผลกระทบภายนอก (Externalities)  คือ  เป็นการลดต้นทุนจากภายใน  โดยการกระทำของรัฐ  เช่น  ระบบสาธารณูปโภค  ได้แก่  ไฟฟ้า  ประปา    คือสินค้าที่รัฐจัดให้  เป็นที่มาของรัฐที่ต้องเข้ามาดูแลระบบสาธารณูปโภค
2.4  สินค้าที่มีต้นทุนที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้  เช่น  สัมปทานต่าง ๆ
3.  การกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ  ด้วยมาตรการทางการคลัง  และมาตรการทางการเงิน
4.  การแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้  ผ่านนโยบายภาครัฐ  เช่น  การประกันราคาข้าว
5.  การแก้ไขปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  ให้เกิดความมั่นคงในระยะยาว  และไม่ให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะสั้น

เครื่องมือของภาครัฐ
1.  นโยบายทางการเงิน  ดูแลโดย  ธนาคารแห่งประเทศไทย  ประกอบด้วย 
1.1  การกำหนดอัตราดอกเบี้ย 
1.2  การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา 
1.3  การกำหนดปริมาณเงินในตลาด
2.   นโยบายทางการคลัง  ดูแลโดย  กระทรวงการคลัง
2.1  มาตรการทาง “ภาษีอากร”  ทั้งทางตรง (ภาษีเงินได้บุคคล-นิติบุคคล-เฉพาะ) และทางอ้อม (VAT)  วัตถุประสงค์  เพื่อหารายได้เข้ารัฐ  สร้างเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ  (ไม่ให้เกิดเงินเฟ้อมากเกินไป)  ส่งเสริมให้เกิดการลงทุน  และสร้างข้อจำกัดการบริโภคที่มากเกินไป   นโยบายหลัก ๆ ที่ใช้  ได้แก่  นโยบายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ  นโยบายเพื่อการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  (เศรษฐกิจเติบโต  ขณะเดียวกันเงินเฟ้อต้องไม่สูงเกินไป)
2.2  มาตรการ  “รายจ่ายรัฐบาล”  ผ่านการตั้งงบประมาณแผ่นดิน (ขาดดุล เกินดุล สมดุล)  เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ  และการจ้างงาน

งบประมาณแผ่นดิน  ที่จะส่งผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี  จะต้องมีสัดส่วนของงบประมาณในส่วนของการลงทุนที่ระดับ 25 เปอร์เซ็นต์  ต่องบประมาณรายจ่ายทั้งปี  ซึ่งในปัจจุบัน  ประเทศไทยมีระดับของงบลงทุนที่ประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์  ต่องบประมาณรายจ่าย   ประเด็นดังกล่าว  จึงส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2554  ชะลอตัว
ตัวอย่าง   นโยบายของภาครัฐ 
นโยบายในการเพิ่มรายได้ของประชาชน  คือ  เช็คช่วยชาติ  (ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจตามมา)  การประกันรายได้เกษตรกร
นโยบายลดรายจ่าย  คือ  การตรึงค่าก๊าซ  ตรึงค่าน้ำมันดีเซล
นโยบายเพิ่มโอกาส  คือ  การฝึกอาชีพ  การเรียนฟรี
นโยบายการเข้ามาอุดหนุนของภาครัฐ  เช่น  การแทรกแทรงการแข็งค่าของเงินบาท
นโยบายการกระจายโอกาส  เช่น  การงดค่าบริการการศึกษา  การยกระดับสถานีอนามัยตำบล

1.3  การก่อหนี้สาธารณะ  (การกู้ยืมเงิน)
1.3.1  การกู้ยืมภายในประเทศ  มีขอบเขตของเงินกู้ที่ชัดเจน  (เรียกอีกอย่างว่า วินัยทางการคลัง)  จาก พรบ.เงินคงคลัง พ.ศ....  อนุญาตให้รัฐบาล  กู้ได้ไม่เกิน  20 เปอร์เซ็นต์  ของงบประมาณรายจ่าย   และอีก 80 เปอร์เซ็นต์  ของต้นเงินกู้   หมายถึง  สามารถรีไฟแนนซ์เงินกู้ได้  ปัจจุบัน  สัดส่วนของหนี้สาธารณะประเทศไทย (เงินกู้-ที่รัฐบาลกู้ยืมมาใช้จ่าย)   อยู่ที่ 45.5  เปอร์เซ็นต์  ต่อ GDP  (2553)  โดยมาตรฐาน   จะต้องไม่เกิน  50  เปอร์เซ็นต์  ต่อ GDP  เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศในระยะยาว  ประเด็นข้างต้น  จึงเป็นที่มาของการยกเลิกโครงการไทยเข้มแข็ง 2  (กลางปี 2553) 
1.3.2  การกู้ยืมจากภายนอกประเทศ  ต้องไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์  ของงบประมาณรายจ่าย
นโยบายการกู้ยืมเงินของรัฐบาล
1.)  ต้องกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุน  การพัฒนา (โครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ)  ห้ามกู้ยืมเงินเพื่อการบริโภค   ดังนั้น  ภาษีอากร  จะต้องควบคุมรายจ่ายประจำไปพร้อมกัน 
2.)  ต้องเป็นการกู้ยืมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลัง  มิให้เกิดเงินเฟ้อสูงเกินไป  หรือส่งผลกระทบต่อวินัยทางการคลัง   การชำระเงินกู้  ต้องไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์  ของงบประมาณรายจ่าย
การกู้ยืมเงินของภาครัฐ  จะต้องกระทำผ่าน
พรบ.วิธีการงบประมาณรายจ่ายประจำปี  พ.ศ....
พรบ.เงินคงคลัง พ.ศ. .......
พรบ.สถาบันการคลัง พ.ศ..............
พรบ.การกู้เงินต่างประเทศ พ.ศ. .......
กรณีการใช้  “มาตรการผ่อนคลายกฎระเบียบ”  ให้กับคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์สามารถมีบ้านได้ (Sub Prime) ของสหรัฐอเมริกา โดยให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อ  และให้มีการขาดดุล 2 แห่ง  คือ  ในตัวงบประมาณแผ่นดิน  และดุลบัญชีเดินสะพัด  (กฎของ IMF อยู่ที่ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ของทั้งสองบัญชี   แต่สหรัฐอเมริกาปล่อยให้เกิดขึ้นได้ถึง  10  เปอร์เซ็นต์

สหรัฐอเมริกา  เป็นประเทศเดียวที่สามารถผลิต  “เงินหรือปั๊มแบ็งค์”  ได้ (แต่ต้องผ่านเป็นร่างกฎหมายทางรัฐสภาและประกาศใช้  โดยล่าสุด 21 ก.ค. 2554 อยู่ระหว่างการต่อรองอีกครั้งของ ปธน.โอบามา  กับฝ่ายริพับริกัน)  โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ทองหรือเงินสำรอง)  นับแต่ทศวรรษปี 1970  เป็นต้นมา  (สมัยรัฐบาลนิกสัน)  เนื่องจากค่าเงินของโลกโดยรวม  ผูกติดที่ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ

ตลอดสามปีที่ผ่านมา  (นับแต่ปลายปี 2551)  ได้มีการอัดฉีดเงินโดยสหรัฐอเมริกา  เพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อน  (เรียกว่ามาตรการ QE – ปัจจุบัน QE2 พึ่งสิ้นสุดไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 – และคาดว่าอาจจะมีการทำ QE3 อีกครั้งหนึ่ง ในช่วงปลายปี 2554)  เงินอัดฉีดดังกล่าว  จึงไหลบ่ามาประเทศทางแถบเอเชีย   จึงส่งผลให้เกิดการแข็งค่าของค่าเงินในแถบเอเซียไปพร้อม ๆ กัน  (เช่น ไทย  ญี่ปุ่น) 

ลักษณะของการแข็งค่าดังกล่าว  จะส่งผลดีต่อประเทศไทย  แต่จะต้องค่อยเป็นค่อยไป  หากยังไหลมาต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม  เช่น  การส่งออก

และยังมีเหตุผลมาจากการที่  “จีน”  หันมาลงทุนในตลาด พันธบัตรของญี่ปุ่น  และเกาหลี  เพิ่มมากขึ้น
หากจะมีการแก้ไข  ก็ต้องแก้ไปที่เรื่องของ  “สภาพคล่องทางการเงิน”  ของกลุ่มธุรกิจ  SME  ผลดีที่ตามมาของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
1.)  ราคาน้ำมัน  มีค่าการนำเข้าที่ถูกลง
2.)  ราคาทองไม่สามารถทะลุขึ้นไปถึง 2 หมื่นบาทได้ (ณ ปี 2553) 
แต่จากสถานการณ์ในปัจจุบัน  ราคาทองที่ผ่านหลัก 2 หมื่นบาทแล้ว  และมีแนวโน้มจะแตะที่ 23,000.- บาท  จึงหมายความว่า  ภาวะค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง  และความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจของอนาคตที่ยังอึมครึมอยู่ในปัจจุบัน  (โดยเฉพาะหนี้ในยุโรป)  ชาติต่างๆ  จึงหันมาสะสมทองคำกันมากขึ้น  
และปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำลังจะตามมา  คือ  การที่รัฐบาลสหรัฐพยายามจะก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น (หรือการทำ QE3) ซึ่งจะส่งผลให้ดอลล่าห์อ่อนค่ามากขึ้น  และความต้องการทองคำในตลาดโลกจะมากขึ้น  โดยเฉพาะประเทศจีน  (ณ วันที่ 21 ก.ค.2554) 

ภาพประกอบ : จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 ก.ค. 2554
 
หมายความว่า  ราคาทองในตลาดโลกจะทวีค่ามากยิ่งขึ้น   เนื่องมาจากการสะสมทองคำของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่จะดำเนินไปพร้อม ๆ กัน
3.)  การท่องเที่ยวต่างประเทศมีราคาถูกลง  แต่ส่งผลกระทบ คือ คนไทยจะไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น
4.)  เครื่องจักรต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิต  จะมีราคาถูกลง  (แต่กำลังการผลิตของประเทศไทยในปัจจุบัน  มีเพียงแค่ 62 เปอร์เซ็นต์  หมายความว่า  การลงทุนในเครื่องจักร  หรือในฐานะผู้ผลิตมีน้อย  ไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน คือ 70 เปอร์เซ็นต์)

จบสำหรับเซ็คชั่นนี้ – โอกาสหน้ามีข้อมูลใหม่จะมานำเสนอต่อ  ขอบคุณครับ

ความรู้พื้นฐานเพื่อใช้ในการทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ ตอน 1

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
ที่อยู่ : 173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak_cpb@yahoo.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/

สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร
บทความนี้  ผู้เขียนรวบรวมข้อมูลที่ผู้เขียนใช้งานอยู่  ซึ่งได้รับทัี้งจากการเข้าฟังสัมนา และช้อตโน้ตต่าง ๆ มาเรียบเรียงให้อ่านง่าย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่มีความรู้หรือความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจเลย  พอที่จะนำไปต่อยอดความคิดของตนได้  โดยเฉพาะเวลาเราอ่านหนังสือพิมพ์  และพบคำศัพท์เหล่านี้ก็น่าที่จะทำให้เราเข้าใจ หรือมองภาพรวมได้มากขึ้น  เพราะจากประสบการณ์ของตนเองในอดีต รู้สึกว่าเป็นปัญหามาก  คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ทุกท่านได้บ้างครับ
 
ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน (ปี 2554)

ระบบเศรษฐกิจ  แบ่งออกเป็น 4 ระบบ  ได้แก่
- เศรษฐกิจ  ทุนนิยม  (หรือแบบตลาด)
- เศรษฐกิจ  คอมมิวนิสต์
- เศรษฐกิจ  สังคมนิยม
- เศรษฐกิจ  แบบผสมผสาน

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์  คือ  รัฐเป็นเจ้าของการผลิต  จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน  มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว  อันนำไปสู่การล่มสลาย   ประเทศจีน  ได้ปรับตัวไปสู่การบริหารประเทศแบบ 2 ระบบ  คือ  ระบบที่หนึ่ง คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ  ปัจจุบันมี 14 เขต  เขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดคือ  เขตเศรษฐกิจผู่ตง  (เซี่ยงไฮ้)  ส่วนระบบที่สองคือ  ระบอบการเมือง

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  คือ  รัฐเข้าไปเป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ที่ประชาชนทำไม่ได้  เช่น  ประปา  ไฟฟ้า  น้ำมัน  ถ่านหิน  เป็นต้น

ระบบรัฐสวัสดิการ  คือ  รัฐเข้าไปเป็นเจ้าของธุรกิจทุกอย่าง  มักปรากฏในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย  เช่น  สวีเดน  เดนมาร์ก  นอร์เวย์  เป็นต้น  รัฐจะจัดเก็บภาษีในระดับ 30-40 เปอร์เซ็นต์  ต่อ GDP    ประเทศไทย  มีการเก็บภาษีเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์  ต่อ GDP  การยื่นภาษีจากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 65 ล้าน  อยู่ที่ 9 ล้านคน    และเสียภาษีจริง ๆ อยู่ที่ 2 ล้านคน   บัญชีเงินฝากที่เกินกว่า 50 ล้านบาท  มีเพียง 7,000 บัญชี  เท่านั้น    อธิบายอย่างง่าย ก็หมายความว่า  ผู้ที่จะถูกเก็บภาษีเกินกว่า 37 เปอร์เซ็นต์  ตามอัตราสูงสุดของประเทศไทย  มีเพียง 7,000 คน

ระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสาน  ใช้กลไกตลาดและภาครัฐ  เป็นผู้กำหนดอย่างผสมผสานกัน  โดยรัฐจะไม่เข้าไปแข่งขันกับภาคเอกชน

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  ประกอบด้วย
-  เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
-  ภาคเอกชนเป็นผู้ประกอบการ (เจ้าของธุรกิจ)
-  ใช้ระบบกลไกตลาด  (คือ  รัฐไม่เข้าไปแทรกแทรงราคา  หรือหากต้องแทรกแทรงก็จะทำให้น้อยที่สุด)
-  มีการแข่งขันอย่างเสรี  (ภายใต้กรอบกฎหมายที่ได้กำหนดไว้)  คือ  มีผู้ซื้อผู้ขาย  มีสินค้าให้เลือกจำนวนมาก  สินค้ามีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน  (Mee too, Value Added and Innovation)  ผู้ซื้อผู้ขายต่างมีข้อมูลเกี่ยวกับตลาด  การโยกย้ายปัจจัยการผลิตและสินค้าสามารถกระทำได้อย่างเสรี  (ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนดไว้)

ปัจจุบัน  กระแสของการลดต้นทุนการผลิต  ส่งผลให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น   ในอดีต  โลกจะมุ่งเน้นในเรื่องของ  Economy of Scale  คือ  ธุรกิจต้องมีขนาดใหญ่  จึงจะเป็นผู้ชนะและครอบครองตลาดส่วนใหญ่   ปัจจุบัน  โลกจะมุ่งเน้นไปที่  Economy of Speed  นั่นคือ  ในภาคธุรกิจ

การลดต้นทุน  โดยการที่ใครที่สามารถเข้าตลาดได้ก่อน  สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภคได้ก่อน  เป็นที่จดจำได้ก่อน  หรือนวัตกรรม (Innovation)  นั้นมาก่อนก็จะครองตลาดได้ก่อน 
 
สิ่งที่พบในปัจจุบันก็คือ  การสร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีให้เกิดความต้องการในระดับบุคคลสูงขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยการเข้าถึงความต้องการในระดับบุคคล  เช่น Iphone  Google  การลดต้นทุน  โดยกำหนดเรื่องของค่าแรง  จนต้องมีการออกกฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ  มีการกำหนดกฎ กติกาการค้าขายกันอย่างกว้างขวาง  มีการเคลื่อนที่เข้ามาของ Fund Flow
 
ในหลายประเทศใช้การย้ายฐานการผลิต  การบริการ  การสร้างศูนย์นวัตกรรมออกไปประเทศอื่น  เช่น  สหรัฐย้ายฐานการผลิตเกือบทุกอย่าง เช่น  GM  ไปประเทศจีน  ย้ายภาคบริการโทรศัพท์ Call Center ทุกประเภทไปอินเดีย  ภาคการผลิตอิเล็คทรอนิกส์  ไปไต้หวัน  เป็นต้น
 
งบดุล  จะเป็นตัวแสดงให้เห็นถึง  สินทรัพย์  หนี้สิน  และส่วนของลงทุน  ไม่ว่าจะในภาคระดับของประเทศ  หรือภาคเอกชน   ปัจจุบัน  ภาครัฐได้มีการเปลี่ยนจากระบบบัญชีเงินสด  ให้กลายมาเป็นบัญชีค้างจ่าย  และในทุกสิ้นปีงบประมาณ  หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง  ต้องแสดงฐานะทางการเงิน (การเบิกจ่ายงบประมาณ)
 
ในภาคเอกชน  จะมีระบบบัญชีเป็นเครื่องมือหรือ  “ปรอท”  วัดประสิทธิภาพในการทำงาน  และสุขภาพโดยรวมขององค์กร   ภาครัฐ  จะใช้การควบคุมภายใน  และการบริหารความเสี่ยงขององค์กร  แต่ในปัจจุบันยังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น
 
ในระดับประเทศ  เราใช้เครื่องวัดฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ  โดยมีจุดเริ่มต้นนับแต่ปี พ.ศ.2471   ที่มีจุดกำเนิดจากศาสตร์วิชาที่ว่าด้วย  เศรษฐศาสตร์มหภาค
1. GDP  หรือการผลิต  (ผลผลิต)  ที่เรียกว่า  Gross Domestic Product หมายถึง  มูลค่าของสินค้าที่ผลิตได้ในแต่ละปี  เปรียบเทียบกับภาคเอกชน  ก็คือ  ยอดการผลิต  เช่น  ยอดการผลิตรถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์  ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  ฯลฯ  แบ่งออกเป็น 3 สาขา  คือ
1.1  สาขา การผลิต  ประกอบด้วย  การเพาะปลูก  การประมง (น้ำจืด  ทะเล  เพาะเลี้ยง)  การทำปศุสัตว์  และป่าไม้
1.2  สาขา การอุตสาหกรรม  ประกอบด้วย  การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า (ประเทศไทยส่งออกเป็นหลัก)  ปิโตรเคมี  ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ 
1.3  สาขา  การบริการ  ประกอบด้วย  การท่องเที่ยว  การค้าปลีก  การบินพาณิชย์  (ผูกขาดโดยการบินไทย)  การศึกษา  (มหาวิทยาลัย วิทยาลัยนานาชาติ ฯลฯ)  บริการทางการแพทย์   วิธีการวิเคราะห์   ให้ดูที่
- อัตราการขยายตัวต่อปี
- สัดส่วนของโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป  (เพิ่ม-ลด)  ในแต่ละปีประเทศที่มีการขยายตัวของ GDP  สูงสุดนับแต่ปี พ.ศ.2538  เป็นต้นมา  คือ  จีน  ประเทศไทย   เป็นประเทศแรก  ที่มีอัตราการขยายตัวของ GDP สูงที่สุดในโลก  สูงถึง  13  เปอร์เซ็นต์  (ก่อนปี 2540)  และถูกจีนทำลายลงในปี 2545  ที่อัตราการขยายตัวที่ 13.5  เปอร์เซ็นต์  อันดับที่สอง  ที่มีการขยายตัวของ GDP สูงที่สุดในปัจจุบัน  คือ  อินเดีย  ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา  พบว่า  คนอินเดียนิยมเดินทางมาแต่งงานในประเทศไทย  (กลุ่มคนรวย)

สัดส่วนโครงสร้างการผลิตของประเทศไทย  เดิมมีสัดส่วนภาคการเกษตรที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์  ต่อ GDP  ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 9 เปอร์เซ็นต์   ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม  ปัจจุบันอยู่ที่ 41 เปอร์เซ็นต์ 
2.  รายจ่ายประชาชาติ  GDE    ขียนออกเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์  ได้คือ 
Y = Consumption + Investment + Government + Export + Import
2.1  การใช้จ่ายภาคประชาชน (Consumption)  ประกอบด้วย  รายได้+รายจ่ายเงินกู้   (ต้องเป็นการกู้เพื่อสินทรัพย์)  ตัวชี้วัด  ก็คือ  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  และยอดขายจากห้างสรรพสินค้า
2.2  การลงทุนภาคธุรกิจ (Investment)  ประกอบด้วย 
-  ผลตอบแทน  (กลับคืนมาจากการลงทุน  สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน  และต้องไม่เกิน 18 เดือน
-  อัตราดอกเบี้ย  ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย  ตัวชี้วัด  ก็คือ  ปริมาณการลงทุนจากบัตรอนุญาตส่งเสริมการลงทุนของ  BOI   และกำลังการผลิต  (ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 62 เปอร์เซ็นต์  เกณฑ์มาตรฐานต้องอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป)
2.3  การใช้จ่ายของรัฐบาล (Government)  มีที่มาจาก  ภาษีอากร  รายจ่ายจากการตั้งงบประมาณต่อปี  การก่อหนี้สาธารณะ   ตัวชี้วัด  คือ  ดุลงบประมาณ  (สมดุล  ขาดดุล  และเกินดุล)   ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สาธารณะต่อ  GDP  ที่ 46 เปอร์เซ็นต์   โดยหลักก็คือ  ต้องไม่เกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์  ของ GDP  เพราะจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาวของประเทศ

วิธีการวิเคราะห์  คือ  ดูที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ  และสัดส่วนการบริโภค  (ประเทศไทยมีสัดส่วนการบริโภคที่ 60 เปอร์เซ็นต์ ต่อ GDP) ประเด็นสำคัญ  เงินออม  ในประเทศไทยมีน้อยมาก   เป็นสาเหตุของการกู้เงินมาลงทุน
 
สัดส่วนการลงทุนของงบประมาณแผ่นดิน  จะต้องมีขนาดที่ 25 เปอร์เซ็นต์  ต่องบประมาณรายจ่ายต่อปี  ขึ้นไป   จึงจะทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี  ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนที่ 16 เปอร์เซ็นต์  ต่องบประมาณรายจ่าย   แสดงให้เห็นว่า  งบประมาณรายจ่ายต่อปีของภาครัฐ  (ปัจจุบันอยู่ที่ 2.07 ล้านล้านบาท)  ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายประจำ  เช่น เงินเดือน  ค่าบริหารสำนักงาน  ค่ารักษาพยาบาล  ฯลฯ
 
งบประมาณแผ่นดินของประเทศไทย  เป็นสัดส่วนต่อ GDP เพียงแค่ 17 เปอร์เซ็นต์  หมายความว่า  รัฐบาลมีสัดส่วนต่อประเทศเพียงแค่  17 เปอร์เซ็นต์  แต่ในปัจจุบัน  มีการเรียกร้องจากภาครัฐค่อนข้างมาก

2.4 การค้าระหว่างประเทศ (Foreign Sector)  ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ  คือ
2.4.1  ดุลการค้า  (หรือบัญชีสินค้า)  แบ่งออกเป็น  การส่องออก  และการนำเข้า  การพึ่งพาการส่งออก  สามารถหาอัตราพึ่งพิงต่างประเทศ  โดยดูมูลค่าสินค้าส่งออกต่อ GDP  มาตรฐานโลก  ประเทศหนึ่งไม่ควรมีอัตราการส่งออกเกิน 45 เปอร์เซ็นต์ ต่อ GDP  ประเทศไทยมีอัตราการส่งออกอยู่ที่ 70-75 เปอร์เซ็นต์  ต่อ GDP  หมายความว่า  ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกมากกว่ามาตรฐานโลก    ดังนั้น  หากเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตามในโลก  เช่น  ก่อการร้าย  เศรษฐกิจถดถอย  ค่าเงินดอลล่าห์แข็งค่า  ฯลฯ  จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยทันที

การเปิดประเทศ  คือ  การส่งออก+การนำเข้า  เท่ากับ 1.3 เท่าของ GDP  หมายความว่า  ประเทศไทยเปิดกว้างมาก  พึ่งพาการนำเข้าอย่างมาก  แม้ปัจจุบันจะเป็นสัดส่วนที่ลดลงบ้าง  แต่ก็มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เข้ามามากขึ้น  เนื่องจาก Trend เช่น  ถั่วเหลือง  การอุตสาหกรรมของไทย  พึ่งพาวัตถุดิบการนำเข้าเป็นหลัก  ปัจจุบันลดลงบ้าง  โดยหันมาใช้ Local Content คือ  ภาคการผลิตภายในประเทศ  เพื่อลดการนำเข้า    การนำเข้าเครื่องมือ  เครื่องจักรขนาดใหญ่  ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก  และการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง  ประเทศไทยนำเข้าในระดับ  8 แสนล้านบาท ต่อปี....

อ่านต่อตอน 2 นะครับ