
ที่อยู่ : 173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak_cpb@yahoo.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร
บทความนี้ ผู้เขียนรวบรวมข้อมูลที่ผู้เขียนใช้งานอยู่ ซึ่งได้รับทัี้งจากการเข้าฟังสัมนา และช้อตโน้ตต่าง ๆ มาเรียบเรียงให้อ่านง่าย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่มีความรู้หรือความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจเลย พอที่จะนำไปต่อยอดความคิดของตนได้ โดยเฉพาะเวลาเราอ่านหนังสือพิมพ์ และพบคำศัพท์เหล่านี้ก็น่าที่จะทำให้เราเข้าใจ หรือมองภาพรวมได้มากขึ้น เพราะจากประสบการณ์ของตนเองในอดีต รู้สึกว่าเป็นปัญหามาก คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ทุกท่านได้บ้างครับ
ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน (ปี 2554)
ระบบเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 4 ระบบ ได้แก่
- เศรษฐกิจ ทุนนิยม (หรือแบบตลาด)
- เศรษฐกิจ คอมมิวนิสต์
- เศรษฐกิจ สังคมนิยม
- เศรษฐกิจ แบบผสมผสาน
ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ คือ รัฐเป็นเจ้าของการผลิต จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว อันนำไปสู่การล่มสลาย ประเทศจีน ได้ปรับตัวไปสู่การบริหารประเทศแบบ 2 ระบบ คือ ระบบที่หนึ่ง คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ปัจจุบันมี 14 เขต เขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดคือ เขตเศรษฐกิจผู่ตง (เซี่ยงไฮ้) ส่วนระบบที่สองคือ ระบอบการเมือง
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ รัฐเข้าไปเป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ที่ประชาชนทำไม่ได้ เช่น ประปา ไฟฟ้า น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น
ระบบรัฐสวัสดิการ คือ รัฐเข้าไปเป็นเจ้าของธุรกิจทุกอย่าง มักปรากฏในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เช่น สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ เป็นต้น รัฐจะจัดเก็บภาษีในระดับ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ต่อ GDP ประเทศไทย มีการเก็บภาษีเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ต่อ GDP การยื่นภาษีจากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 65 ล้าน อยู่ที่ 9 ล้านคน และเสียภาษีจริง ๆ อยู่ที่ 2 ล้านคน บัญชีเงินฝากที่เกินกว่า 50 ล้านบาท มีเพียง 7,000 บัญชี เท่านั้น อธิบายอย่างง่าย ก็หมายความว่า ผู้ที่จะถูกเก็บภาษีเกินกว่า 37 เปอร์เซ็นต์ ตามอัตราสูงสุดของประเทศไทย มีเพียง 7,000 คน
ระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสาน ใช้กลไกตลาดและภาครัฐ เป็นผู้กำหนดอย่างผสมผสานกัน โดยรัฐจะไม่เข้าไปแข่งขันกับภาคเอกชน
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบด้วย
- เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน- ภาคเอกชนเป็นผู้ประกอบการ (เจ้าของธุรกิจ)
- ใช้ระบบกลไกตลาด (คือ รัฐไม่เข้าไปแทรกแทรงราคา หรือหากต้องแทรกแทรงก็จะทำให้น้อยที่สุด)
- มีการแข่งขันอย่างเสรี (ภายใต้กรอบกฎหมายที่ได้กำหนดไว้) คือ มีผู้ซื้อผู้ขาย มีสินค้าให้เลือกจำนวนมาก สินค้ามีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน (Mee too, Value Added and Innovation) ผู้ซื้อผู้ขายต่างมีข้อมูลเกี่ยวกับตลาด การโยกย้ายปัจจัยการผลิตและสินค้าสามารถกระทำได้อย่างเสรี (ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนดไว้)
ปัจจุบัน กระแสของการลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ในอดีต โลกจะมุ่งเน้นในเรื่องของ Economy of Scale คือ ธุรกิจต้องมีขนาดใหญ่ จึงจะเป็นผู้ชนะและครอบครองตลาดส่วนใหญ่ ปัจจุบัน โลกจะมุ่งเน้นไปที่ Economy of Speed นั่นคือ ในภาคธุรกิจ
การลดต้นทุน โดยการที่ใครที่สามารถเข้าตลาดได้ก่อน สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภคได้ก่อน เป็นที่จดจำได้ก่อน หรือนวัตกรรม (Innovation) นั้นมาก่อนก็จะครองตลาดได้ก่อน
สิ่งที่พบในปัจจุบันก็คือ การสร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีให้เกิดความต้องการในระดับบุคคลสูงขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยการเข้าถึงความต้องการในระดับบุคคล เช่น Iphone Google การลดต้นทุน โดยกำหนดเรื่องของค่าแรง จนต้องมีการออกกฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ มีการกำหนดกฎ กติกาการค้าขายกันอย่างกว้างขวาง มีการเคลื่อนที่เข้ามาของ Fund Flow
ในหลายประเทศใช้การย้ายฐานการผลิต การบริการ การสร้างศูนย์นวัตกรรมออกไปประเทศอื่น เช่น สหรัฐย้ายฐานการผลิตเกือบทุกอย่าง เช่น GM ไปประเทศจีน ย้ายภาคบริการโทรศัพท์ Call Center ทุกประเภทไปอินเดีย ภาคการผลิตอิเล็คทรอนิกส์ ไปไต้หวัน เป็นต้น
งบดุล จะเป็นตัวแสดงให้เห็นถึง สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของลงทุน ไม่ว่าจะในภาคระดับของประเทศ หรือภาคเอกชน ปัจจุบัน ภาครัฐได้มีการเปลี่ยนจากระบบบัญชีเงินสด ให้กลายมาเป็นบัญชีค้างจ่าย และในทุกสิ้นปีงบประมาณ หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ต้องแสดงฐานะทางการเงิน (การเบิกจ่ายงบประมาณ)
ในภาคเอกชน จะมีระบบบัญชีเป็นเครื่องมือหรือ “ปรอท” วัดประสิทธิภาพในการทำงาน และสุขภาพโดยรวมขององค์กร ภาครัฐ จะใช้การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงขององค์กร แต่ในปัจจุบันยังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น
ในระดับประเทศ เราใช้เครื่องวัดฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีจุดเริ่มต้นนับแต่ปี พ.ศ.2471 ที่มีจุดกำเนิดจากศาสตร์วิชาที่ว่าด้วย เศรษฐศาสตร์มหภาค
1. GDP หรือการผลิต (ผลผลิต) ที่เรียกว่า Gross Domestic Product หมายถึง มูลค่าของสินค้าที่ผลิตได้ในแต่ละปี เปรียบเทียบกับภาคเอกชน ก็คือ ยอดการผลิต เช่น ยอดการผลิตรถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ แบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ
1.1 สาขา การผลิต ประกอบด้วย การเพาะปลูก การประมง (น้ำจืด ทะเล เพาะเลี้ยง) การทำปศุสัตว์ และป่าไม้1.2 สาขา การอุตสาหกรรม ประกอบด้วย การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า (ประเทศไทยส่งออกเป็นหลัก) ปิโตรเคมี ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์
1.3 สาขา การบริการ ประกอบด้วย การท่องเที่ยว การค้าปลีก การบินพาณิชย์ (ผูกขาดโดยการบินไทย) การศึกษา (มหาวิทยาลัย วิทยาลัยนานาชาติ ฯลฯ) บริการทางการแพทย์ วิธีการวิเคราะห์ ให้ดูที่
- อัตราการขยายตัวต่อปี
- สัดส่วนของโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป (เพิ่ม-ลด) ในแต่ละปีประเทศที่มีการขยายตัวของ GDP สูงสุดนับแต่ปี พ.ศ.2538 เป็นต้นมา คือ จีน ประเทศไทย เป็นประเทศแรก ที่มีอัตราการขยายตัวของ GDP สูงที่สุดในโลก สูงถึง 13 เปอร์เซ็นต์ (ก่อนปี 2540) และถูกจีนทำลายลงในปี 2545 ที่อัตราการขยายตัวที่ 13.5 เปอร์เซ็นต์ อันดับที่สอง ที่มีการขยายตัวของ GDP สูงที่สุดในปัจจุบัน คือ อินเดีย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า คนอินเดียนิยมเดินทางมาแต่งงานในประเทศไทย (กลุ่มคนรวย)
สัดส่วนโครงสร้างการผลิตของประเทศไทย เดิมมีสัดส่วนภาคการเกษตรที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ ต่อ GDP ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 9 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบันอยู่ที่ 41 เปอร์เซ็นต์
2. รายจ่ายประชาชาติ GDE เขียนออกเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ ได้คือ
Y = Consumption + Investment + Government + Export + Import2.1 การใช้จ่ายภาคประชาชน (Consumption) ประกอบด้วย รายได้+รายจ่ายเงินกู้ (ต้องเป็นการกู้เพื่อสินทรัพย์) ตัวชี้วัด ก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และยอดขายจากห้างสรรพสินค้า
2.2 การลงทุนภาคธุรกิจ (Investment) ประกอบด้วย
- ผลตอบแทน (กลับคืนมาจากการลงทุน สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน และต้องไม่เกิน 18 เดือน
- อัตราดอกเบี้ย ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ตัวชี้วัด ก็คือ ปริมาณการลงทุนจากบัตรอนุญาตส่งเสริมการลงทุนของ BOI และกำลังการผลิต (ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 62 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์มาตรฐานต้องอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป)
2.3 การใช้จ่ายของรัฐบาล (Government) มีที่มาจาก ภาษีอากร รายจ่ายจากการตั้งงบประมาณต่อปี การก่อหนี้สาธารณะ ตัวชี้วัด คือ ดุลงบประมาณ (สมดุล ขาดดุล และเกินดุล) ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ 46 เปอร์เซ็นต์ โดยหลักก็คือ ต้องไม่เกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP เพราะจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาวของประเทศ
วิธีการวิเคราะห์ คือ ดูที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ และสัดส่วนการบริโภค (ประเทศไทยมีสัดส่วนการบริโภคที่ 60 เปอร์เซ็นต์ ต่อ GDP) ประเด็นสำคัญ เงินออม ในประเทศไทยมีน้อยมาก เป็นสาเหตุของการกู้เงินมาลงทุน
สัดส่วนการลงทุนของงบประมาณแผ่นดิน จะต้องมีขนาดที่ 25 เปอร์เซ็นต์ ต่องบประมาณรายจ่ายต่อปี ขึ้นไป จึงจะทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนที่ 16 เปอร์เซ็นต์ ต่องบประมาณรายจ่าย แสดงให้เห็นว่า งบประมาณรายจ่ายต่อปีของภาครัฐ (ปัจจุบันอยู่ที่ 2.07 ล้านล้านบาท) ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายประจำ เช่น เงินเดือน ค่าบริหารสำนักงาน ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
งบประมาณแผ่นดินของประเทศไทย เป็นสัดส่วนต่อ GDP เพียงแค่ 17 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า รัฐบาลมีสัดส่วนต่อประเทศเพียงแค่ 17 เปอร์เซ็นต์ แต่ในปัจจุบัน มีการเรียกร้องจากภาครัฐค่อนข้างมาก
2.4 การค้าระหว่างประเทศ (Foreign Sector) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ
2.4.1 ดุลการค้า (หรือบัญชีสินค้า) แบ่งออกเป็น การส่องออก และการนำเข้า การพึ่งพาการส่งออก สามารถหาอัตราพึ่งพิงต่างประเทศ โดยดูมูลค่าสินค้าส่งออกต่อ GDP มาตรฐานโลก ประเทศหนึ่งไม่ควรมีอัตราการส่งออกเกิน 45 เปอร์เซ็นต์ ต่อ GDP ประเทศไทยมีอัตราการส่งออกอยู่ที่ 70-75 เปอร์เซ็นต์ ต่อ GDP หมายความว่า ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกมากกว่ามาตรฐานโลก ดังนั้น หากเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตามในโลก เช่น ก่อการร้าย เศรษฐกิจถดถอย ค่าเงินดอลล่าห์แข็งค่า ฯลฯ จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยทันที
การเปิดประเทศ คือ การส่งออก+การนำเข้า เท่ากับ 1.3 เท่าของ GDP หมายความว่า ประเทศไทยเปิดกว้างมาก พึ่งพาการนำเข้าอย่างมาก แม้ปัจจุบันจะเป็นสัดส่วนที่ลดลงบ้าง แต่ก็มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เข้ามามากขึ้น เนื่องจาก Trend เช่น ถั่วเหลือง การอุตสาหกรรมของไทย พึ่งพาวัตถุดิบการนำเข้าเป็นหลัก ปัจจุบันลดลงบ้าง โดยหันมาใช้ Local Content คือ ภาคการผลิตภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้า การนำเข้าเครื่องมือ เครื่องจักรขนาดใหญ่ ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก และการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ประเทศไทยนำเข้าในระดับ 8 แสนล้านบาท ต่อปี....
อ่านต่อตอน 2 นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น