จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อเผื่อเป็นประโยชน์แก่เรา ๆ ท่าน ๆ ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจทีเดียวครับ
ทันทีที่เขาสามารถนับเลขได้ พ่อแม่ก็สามารถสอนให้เขารู้จักใช้เงินได้แล้ว หลังจากนั้น ก็ค่อย ๆ เสริมบทเรียนทางการเงินบทใหม่ ๆ ให้ตามอายุที่เพิ่มขึ้นแบบง่าย ๆ ดังนี้
1. ช่วงเด็กก่อนวัยเรียน ให้เข้าใจว่าการซื้อของต้องใช้เงิน พยายามใช้จ่ายด้วยเงินสดต่อหน้าลูก เพราะเครดิตการ์ดเป็นเรื่องที่ “นามธรรม” เกินไปสำหรับเด็กวัยนี้
2. เด็กวัย 3-5 ขวบ เริ่มให้ลูกเก็บออมเงินในภาชนะที่ “โปร่งใส” (ไม่ใช่กระปุกออมสินทึบ ๆ แบบเก่า) เพื่อที่เขาจะมองเห็นเงินได้ และตื่นเต้นเมื่อเห็นมันเพิ่มขึ้นจนเกือบจะเต็ม
3. เด็กวัย 5-7 ขวบ (ในหนังสือ เลี้ยงลูกให้ใช้เงินเป็น. โดย Adam Khoo & Keon Chee" บอกว่า ให้เริ่มที่ 6 ขวบ เป็นวัยที่เหมาะสม)
เมื่อลูกเริ่มเข้าโรงเรียนแล้ว ก็เป็นเวลาเหมาะสมที่จะเริ่มให้เงินค่าขนมกับลูกอย่างจริงจัง และสม่ำเสมอ โดยอาจเริ่มเป็นรายวันก่อน สอนให้เขารู้จักทำงบประมาณใช้เงิน และออมเงินในเวลาเดียวกัน
4. เด็กวัย 8-10 ขวบ พาลูกไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร ให้เขาฝากเพิ่มเป็นประจำ และอธิบายด้วยว่าธนาคารจะให้ดอกเบี้ยกับเขาเป็นการตอบแทน ให้ลูกเรียนรู้เรื่องการทำงบประมาณ ด้วยการให้เขาเข้ามีส่วนร่วม (รับรู้) ในการตัดสินใจทางการเงินของครอบครัว
นอกจากนี้ แนะนำให้เขารู้จักความหมายของคำว่า “ความเสี่ยง” และ “เงินรางวัล” ไว้ด้วย
5. เด็กวัย 11-13 ขวบ ในช่วงระหว่างชั้นประถมถึงมัธยมต้น เด็ก ๆ จะสามารถเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของตลาดหุ้นได้แล้ว ถ้าเขามีความสนใจ ก็ให้ลองเลือกมาสัก 1-2 ตัว เปลี่ยนค่าขนมจากรายวันเป็นรายสัปดาห์ และเป็นเดือนละ 2 ครั้ง และให้เด็ก ๆ ลองเริ่มหาเงินจากนอกบ้านบ้าง
6. เด็กวัย 13-15 ปี แนะนำให้ลูกรู้จักกับ “หุ้นกู้” และแสดงให้เขาเห็นว่าจะทำการหาข้อมูลหุ้น จะช่วยให้เขาตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น
7. เด็กวัย 16-18 ปี เมื่อลูกกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย ก็เริ่มมองอนาคตได้แล้ว อาจให้เขาดูแลบัญชีเพื่อการศึกษาที่คุณเปิดไว้ “เมื่อหลายปีก่อน” ด้วยตัวเอง ลูกของคุณมีงานพาร์ทไทม์ทำหรือยัง ถ้าเขาเริ่มมีรายได้แล้ว ก็อย่าลืมสอนเรื่อง “การเสียภาษีด้วย”
8. อันนี้เพิ่มเติมหลังจากได้อ่านเจอในหนังสือ “คัมภีร์การค้าของชาวยิว, เขียนโดย ไอรีน เป, ได้บอกว่า...
....ในวัยนี้ (16-18 ปี) หรือในช่วง 13-15 ปี พ่อแม่อาจจะสอนให้เขาเปิดบัญชีเงินบริจาคไว้เลยก็ได้ เป็นการออมสะสมไว้ทุกเดือน (โดยตัวเขาอาจจะมีเงินทุนเริ่มต้นใส่เข้ามาก่อนก็ได้)...
ซึ่งไปจำเป็นต้องบริจาคทุกเดือน อธิบายให้เขาฟังว่าจะทำให้เรามีเงินพร้อมสำหรับการบริหารเพื่อการบริจาคแก่เพื่อนมนุษย์ที่ลำบากกว่าเราในกรณีต่าง ๆ
การสอนเรื่องบริจาคให้แก่เด็กได้เรียนรู้ จะทำให้เขาคำนึงถึงการทำเพื่อสังคมแต่เด็ก
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น