...หากไม่มีทฤษฎีการจัดการและไอเดียที่บอกคุณถึงการปฏิบัติ คุณก็เหมือนช่างไม้ที่มีค้อนเพียงอันเดียวในกล่องเครื่องมือ โดยมีผลลัพธ์ของทุกปัญหาเป็นเหมือนตะปู...
ซึ่งทั้งสองมองว่า การที่เราจะเป็นนักบริหารที่มีความสามารถสูง จนกลายเป็นที่จับตาขององค์กรได้นั้น การมีความรู้พื้นฐานในทฤษฎีด้านการจัดการต่าง ๆ นั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของตัวเรา
แต่สิ่งที่เราต้องสร้างเพิ่มเติม คือ ประสบการณ์ในการนำทฤษฎีต่าง ๆ มาปรับใช้งานด้วยตนเอง ฝึกฝนทักษะการบริหารในทุกโอกาส พร้อมทั้งลองทำตามทฤษฎีทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน
เปรียบได้ดั่งนักดนตรีแจ๊สที่เก่งกาจ ซึ่งสามารถเล่นตามท่วงทำนองพื้นฐานได้อย่างไม่มีผิดพลาด
แต่การจะเป็นนักดนตรีแจ๊สที่ยิ่งใหญ่ นักดนตรีแจ๊สท่านนั้นจะต้องผ่านการเรียนรู้ที่จะแสดงสดต่อหน้าผู้ชม
ผู้เขียนทั้งสอง ยังไม่แนะนำให้เราใช้เพียงการสังเกตนักบริหารที่เก่งกาจแล้วนำมาทำตามทั้งหมด เพราะนั่นจะนำพาให้ตัวเราก้าวไปสู่ความล้มเหลว
เนื่องจากขาดลักษณะเฉพาะอย่างที่เราเป็น เราจึงต้องพัฒนาจนเกิดเป็น สไตล์การบริหารเฉพาะตัวของเรา
...สิ่งที่เป็นของตัวเอง คือสิ่งที่ถูกต้อง...
แล้วเราจะพัฒนา สไตล์การบริหารเฉพาะของตัวเรา ได้อย่างไร
ทั้งสองให้คำแนะนำว่าเราต้องค่อย ๆ สะสมจาก 3 ปัจจัย
...ศึกษาจากทฤษฎีบางส่วน ดูความสำเร็จของนักบริหารที่เราเห็นเป็นต้นแบบ และได้รับประสบการณ์ตรงจากการบริหารของตัวเราเอง..
เมื่อได้ทำทั้งสามประการนี้อย่างต่อเนื่องนานวันเข้า ก็จะค่อย ๆ พัฒนา สไตล์การบริหารเฉพาะตัวของเรา ให้เกิดขึ้นมา
ยิ่งเรามีความรู้เกี่ยวกับ สไตล์การบริหารเฉพาะตัวของเรา และสไตล์ดังกล่าวสามารถสร้างผลกระทบที่มีต่อผู้อื่นได้มากเท่าไร
ตัวเราก็จะมีประสิทธิภาพในการบริหารมากขึ้นเท่านั้น
แล้วเรา จะสะสมความรู้ เหล่านี้ได้อย่างไร
แมคกราท และ เบทส์ ให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมว่าเราจำเป็นต้อง จดบันทึก อย่างย่อ ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์การบริหารของตัวเราเก็บไว้ เพราะสามารถใช้เป็นสิ่งสะท้อนของตัวเราได้
เช่น... เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ?
ทำไมจึงเกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น ?
เราสามารถทำอะไรให้แตกต่างจากนี้ได้หรือไม่ ?
ทำไมเราจึงประสบความสำเร็จในสถานการณ์นี้แต่ล้มเหลวในสถานการณ์อื่น ? ... ฯลฯ
การจดบันทึกเก็บไว้ เมื่อเราได้ย้อนกลับมาดูอีกครั้ง จะทำให้เราได้เรียนรู้จากสิ่งสะท้อนเหล่านี้
และยังสามารถนำมาใช้เป็นคู่มือปฏิบัติงานได้ในอนาคต
การจดบันทึกหรือเขียนโน้ตสิ่งสะท้อนเล็ก ๆ นี้ จะช่วยให้เราจดจำฝังใจในสิ่งที่เราได้เรียนรู้มา
มันจะผสมผสานอยู่ในตัวเราโดยไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้จะหลอมรวมกับอารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อ และทํศนคติ จนกลายเป็นแหล่งสะสมความรู้โดยปริยาย
เมื่อถึงคราวจำเป็น ความรู้เหล่านี้จะคอยบอกตัวเราในการลงมือปฏิบัติเรื่องใด ๆ รวมถึงการตัดสินใจของตัวเรา จนเกิดเป็น สไตล์การบริหารเฉพาะของตัวเราเอง
เหมือนกับนักดนตรี ที่สามารถเล่นดนตรีได้เข้าขากับผู้อื่น โดยไม่ต้องเตรียมตัวมาก่อน
ในยามที่เราได้รับรู้ข้อมูลจากแหล่งอื่น แล้วเรารู้ได้ในทันทีทันใดว่าความเห็นเหล่านั้น ใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ แต่เราไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไม
สิ่งเหล่านี้ผู้เขียนทั้งสองเรียกว่า ความรู้ที่เป็นไปโดยปริยาย ซึ่งคนรุ่นก่อนเรียกว่า สัญชาตญาณ หรือ ลางสังหรณ์ (Gut instinct)
แล้วเรา จะจดบันทึกอย่างไร ให้สะดวกในการเรียกใช้งานสม่ำเสมอ
โยอิจิ อิโนอุเอะ (Yoichi Inoue) ผู้แต่งหนังสือในชื่อภาษาไทย ว่างงาน แต่ไม่ว่างเงิน (2561) ให้คำแนะนำว่า...
ให้เราเขียน บล็อก ขึ้นมาเป็นของตัวเราครับ
เช่นเดียวกับที่ตัวผม (แอดบล็อกนี้) กำลังเขียนบล็อกนี้อยู่นั่นเองครับ
ตัว โยอิจิ ได้กล่าวว่า การเขียนบล็อกนั้น จะทำให้เรามี สินทรัพย์ ทางความรู้ของตัวเราเอง
ที่เราสามารถ หยิบยืมหรือนำขึ้นมาใช้งาน ได้ตลอดกาล
เราสามารถที่จะหยิบมาใช้งานหรือเข้ามาค้นคว้าเพิ่มเติมเมื่อไรก็ได้
และยังสามารถเผยแพร่เป็นข้อมูลให้แก่ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมได้
แม้ในช่วงแรก ๆ เนื้อหาที่เขียนไว้อาจจะยังไม่ดีนัก เนื่องจากเรายังไม่ตกผลึกทางความคิดมากพอ
แต่เราก็สามารถที่จะกลับมาแก้ไขหรือปรับปรุงเนื้อหาให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
หากเราพัฒนาเนื้อหาภายในบล็อกอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นพัฒนาเนื้อหาตามความเชี่ยวชาญของตัวเรา
ในอนาคตเรายังสามารถนำเนื้อหาภายในบล็อกมาใช้ในการ จัดสัมมนา โดยอ้างอิงเนื้อหาจากบล็อกได้เองอีกด้วยครับ
การสร้าง สไตล์การบริหารเฉพาะของตัวเราเอง ยังสามารถนำมาปรับใช้กับวิธีการลงทุนในหุ้น หรือการบริหารเงินของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะในการลงทุนเราไม่อาจยืนยันได้ว่า การนำทฤษฎีการลงทุนแบบใดแบบหนึ่งมาใช้งานแล้วจะเหมาะสมกับตัวเราทั้งหมด
หรือหากทำตามคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วเราจะประสบความสำเร็จตามได้
เราจำเป็นต้องสร้างทางหรือ สไตล์ ของเราขึ้นมาเอง โดยอิงอยู่บนพื้นฐานของปัจจัย 3 ประการข้างต้นครับ
โดยที่เรายังสามารถนำ ความรู้ทางการเงิน หรือประสบการณ์ในการลงทุน ของตัวเราเอง มาจดบันทึกเก็บไว้ในบล็อก
ถือเป็นประโยชน์ต่อตัวเราทั้งสองทางครับ
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น