...หากองค์กรใดไม่มีการจัดเก็บหรือรวบรวมไว้ ก็อาจจะทำให้องค์กรนั้นสูญเสียอำนาจในการบริหารองค์กรไปได้ (ชัชวลิต ศรวารี, คนกับองค์กร.)
หากท่านใดชอบชมภาพยนตร์ อยากแนะนำให้ลองหาเรื่อง Draft Day (2014) ซึ่งนำแสดงโดย เควิน คอสเนอร์ ดารารุ่นเก๋ามาชมกันครับ
เนื้อหาของภาพยนตร์พูดถึงเหตุการณ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะถึงช่วงเวลาการ Draft หรือการเลือกตัวนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลหน้าใหม่ (Rookie) ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบในประเทศสหรัฐอเมริกา จากลีกในระดับมหาวิทยาลัย หรือ NCAA เข้าสู่ทีมอาชีพในลีก NFL
หลาย ๆ ท่าน น่าจะตระหนักถึงความสำคัญของสถิติและข้อมูลกันมากยิ่งขึ้น ภายหลังที่ได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้กันแล้วอย่างแน่นอน
รวมถึงเทคนิคหรือวิธีการที่ปรากฎอยู่ในภาพยนตร์ดังกล่าว ที่ได้มีการนำมาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เพราะตลอดเวลาที่เราได้เห็นในภาพยนตร์ เราจะเห็นตัวเอกของเรื่องที่ต้องมีการรวบรวม สถิติและข้อมูล ของนักกีฬาจากทุกกลุ่ม
ทั้งจากกลุ่มนักกีฬาที่มีอยู่เดิมในสังกัด จากกลุ่มนักกีฬาหน้าใหม่ จากผู้จัดการทีมฝ่ายตรงข้าม ไปจนถึงจากสตาฟท์ทีมงานของตนเอง
รวมถึงยังต้องมีการต่อรอง การบลั๊ฟ การเปลี่ยนแผน และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของ การรวบรวมข้อมูล เพื่อประกอบการตัดสินใจที่ถูกต้อง
เพราะการตัดสินใจในครั้งนี้ จะส่งผลต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพของทีมไปจนจบฤดูกาล
และในบางทีมอาจต้องดูแลกันไปจนครบสัญญากันเลยทีเดียว
เมื่อได้รับชมจนจบแล้ว ผมก็ไม่รู้สึกแปลกใจถึงความเป็นมหาอำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกาในโลกยุคสมัยปัจจุบันแต่อย่างใด
เพราะสิ่งที่เขาแสดงออกให้เห็นผ่านการชมภาพยนตร์ก็คือ ความเป็นเลิศในงานด้านการข่าว ของคนในประเทศเขาที่ฝังรากลึกไปในทุกวงการจริง ๆ
ประเด็นที่ได้นำเสนอมาข้างต้น ...
เราสามารถนำมาปรับใช้กับการบริหารการลงทุนของตัวเรา เช่น การลงทุนในหุ้น ได้อย่างไร
หลายปีที่ผ่านมาในการลงทุนของตนเอง ผมได้ยินคำว่า ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย บ่อยครั้ง จึงได้ลองติดตามศึกษาดู
ก็พบว่าเป็นคำที่ปรากฎอยู่ในผลงานของนักลงทุนระดับตำนานของโลก คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์
จากที่ได้ติดตามอ่านประวัติของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ทำให้ทราบว่า นี่คือ หัวใจสำคัญ ที่ทำให้เขายังคงเป็นสุดยอดนักลงทุนเอกของโลกมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อได้ลองตามศึกษาเพิ่มเติมดู ตัวผมเองก็ยังไม่พบ (ซึ่งอาจจะมี แต่ผมยังไม่เจอ) ถึงแนวทางที่ชัดเจนว่า ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย มีหน้าตาเป็นอย่างไร
ในมุมมองผม เราจึงต้อง กำหนดหรือสร้างขึ้นมา ด้วยตัวของเราเองครับ
แล้วเราจะกำหนด ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย อย่างไร
ปกติผมใช้การเก็บรวบรวม สถิติและข้อมูล ของราคาหุ้นที่ผมสนใจด้วยตนเอง
ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็น หุ้นขนาดใหญ่ และมีปันผลสม่ำเสมอครับ
นอกเหนือจากการศึกษา งบดุล และ การติดตามข่าวสาร ของหุ้นแต่ละตัวที่เราสนใจ
โดยใช้โปรแกรมเอ็กเซลแบบง่าย ๆ ครับ...
จริงอยู่ที่ในโปรแกรมสตรีมมิ่งที่เราใช้ในการซื้อขายหุ้นในปัจจุบัน ก็มีข้อมูลเหล่านี้แสดงผลเป็นกราฟราคา
แต่ผมพบจากประสบการณ์ว่า การรวบรวมข้อมูลเหล่านี้อย่างมีวินัยด้วยตนเอง ทำให้เราตัดสินใจได้ดีกว่ามาก
".... คุณต้องทำให้มันเป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้มันเป็นตัวเลข มันจึงจะวัดได้ เมื่อวัดได้ก็จะทำให้เราเข้าใจ..."
เป็นคำกล่าวที่ผมจำขึ้นใจมาจากนักคณิตศาสตร์ระดับโลกท่านหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว
เพราะเมื่อเราได้ข้อมูลออกมาแล้ว เราก็สามารถที่จะ จัดกระทำ กับข้อมูลต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเราเอง
พูดให้ข้าใจง่าย เราเป็นผู้ควบคุมข้อมูล นั่นเองครับ
เมื่อได้รวบรวมและประมวลข้อมูลด้วยตนเอง ก็ทำให้ตัวเราสามารถที่จะ ตั้งคำถาม กับตัวเองได้ว่า
ค่าเฉลี่ยราคา สูงสุด - ต่ำสุด ของหุ้นที่เราศึกษาแล้วนั้น มีราคาอยู่ที่เท่าไร
ภาพใน 1 ปี จริง ๆ แล้ว เขาซื้อ-ขาย กันทั้งหมดเป็นจำนวนกี่วัน... 250 วัน หรือ 300 วัน ...
จากจำนวนวันทั้งหมด ราคาเฉลี่ยกลาง ที่เราเห็นควรจะใช้ราคาตรงวันใดมาเป็นฐานคิด (หรือเรียกอีกอย่าง คือ เป็นราคาที่เราใช้เป็น สมมุติฐาน) ...
ควรเป็นวันที่ 100 หรือวันที่ 125 หรือ.....
จาก ราคาเฉลี่ยกลาง ที่เราคิด เราควรให้ ส่วนลด (เข้าซื้อสะสม) หรือ คิดส่วนเพิ่ม (ขายทำกำไร) สักกี่เปอร์เซ็นต์ดี
ควรจะเป็น ... 7% หรือ 11% หรือ .......ทั้งในการซื้อ และการขาย ดีหรือไม่
...เคล็ดลับของความร่ำรวย ก็เหมือนกับเคล็ดลับของการเล่นตลก... "จังหวะ"...
เป็นคำกล่าวที่ผมชอบมาก ซึ่งได้รับชมมาจากภาพยนตร์เรื่อง A good year ( 2006)..
แล้วเราควรจะกำหนด จังหวะ ในการเข้า ซื้อ-ขาย อย่างไร ...
ในระยะ 1 ปี เราต้องรอให้ตลาดปรับตัวลงสัก 10 - 15 % ก่อนดีไหม หลังจากไปถึงจุดที่เราคิดว่าสูงสุดแล้วของแต่ละปี แล้วเราจึงค่อยเข้าซื้อ...
ในการเข้าซื้อ เราควรใช้ช่วงเวลาก่อนการปันผลสัก 60 วันทำการดีไหม ...
หรือเราควรจะทยอยซื้อทีละ 100 หุ้น แล้วเวลาขายเราขายทิ้งทั้งหมดทีเดียว ...
เราควรใช้ช่วงเวลาหลังการปันผลสัก 60 วันทำการดีหรือไม่ ในการขายหุ้นออก ..
หรือเราจะไม่ขายบ่อยครั้ง แต่ใช้การบริหารเป็นภาพรวมทั้งพอร์ตดีไหม โดยใช้การคิดแบบร้อยละเป็นตัวประเมินในการบริหารพอร์ตของตัวเรา ...
ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่าเมื่อเรามีการรวบรวม สถิติและข้อมูล อย่างต่อเนื่องและมีวินัย
เราก็จะเป็นผู้ที่ ควบคุมข้อมูล จนสามารถนำมาจัดกระทำกับในแบบที่เราต้องการ หรือนำข้อมูลมาบริหารให้ตัวเราได้พิจารณาอย่างเป็นระบบ
จะทำให้เราเห็นแนวโน้มการตัดสินใจหรือจุดตัดสินใจที่เหมาะสมกับตัวเรา อันจะทำให้ การลงทุนของตัวเรา มีความยั่งยืน
นี่คือ ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย ในมุมมองของผมครับ
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น