วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วาทะทางการเมือง

ข้อคิดที่เกี่ยวข้องกับทางการเมืองทั่วไป

  1. เศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย เป็นปัญหายุทธศาสตร์ ที่ท้าทายสติปัญญาของผู้รับผิดชอบบริหารประเทศ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2545)...(ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพ็ชร)
  2. เหนือความขัดแย้งย่อมมีสิ่งสำคัญยิ่งกว่า (จากภาพยนตร์ซีรี่ HBO เรื่อง “Recount (2008)” ....จากประเด็น...จากเหตุการณ์ความวุ่นวายที่ฟลอริดา (ที่มีการยื่นขอให้มีการนับคะแนนในบางพื้นที่ใหม่ของพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้ง ปธน.กอร์-บุช ปี 2001) แม้จะเป็นความขัดแย้งหรือการต่อสู้กันที่ค่อนข้างเข้มข้น รุนแรง ระหว่างสองพรรคการเมือง แต่ข้อยุติของความขัดแย้งดังกล่าวจบลงด้วยมติของศาลสูงสุด ซึ่งมีเหตุผลแนบท้ายว่า "เพื่อรักษาระบบและรัฐธรรมนูญ..."
  3. ถ้าเราหยิบยื่น “เงินและอำนาจ” ให้แก่รัฐบาล ก็เหมือนกับเราหยิบยื่น “เหล้าและกุญแจรถยนต์” ให้แก่ลูกชายวัยรุ่นของเรา (พี.เจ.โอรู้ค – นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน)
  4. การเมืองไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ที่เราจะปล่อยให้นักการเมือง เล่นกันเอง (พี.เจ.โอรู้ค – นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน)

หลักและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

  1. ประเทศไทย รับความคิดประชาธิปไตย มาแต่เพียงความคิดเรื่อง “การจำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ และการลงคะแนนเสียงเพื่อสรรหาคนมาปกครอง” เรายังขาดความคิดเรื่องประชาธิปไตย คือ สังคมนำรัฐ สังคมที่จะบอกรัฐให้รู้ว่า สังคมต้องการอะไร สังคมอยากไปทางไหน.....
  2. คนไทย เอาทั้งจุดอ่อนของคนฝรั่งเศส (พึ่งพารัฐ) และจุดอ่อนของคนอังกฤษ (พึ่งพาผู้มีอิทธิพล) มารวมไว้ในตัวเอง (ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)
  3. นโยบายของรัฐบาลจะสำเร็จหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ความต่อเนื่องของนโยบาย หรือความเก่งกล้าของรัฐบาลเท่านั้น และไม่ได้อยู่ที่วิสัยทัศน์ของนักการเมือง หรือความช่ำชองของข้าราชการด้วย แต่อยู่ที่ว่า ประชาสังคม (องค์กรหรือโครงสร้างที่เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐและปัจเจกชน เป็นการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนต่าง ๆ เช่น สมาคม ชมรม มูลนิธิ เพื่อประโยชน์ของวิชาชีพ หรือเพื่อประโยชน์ของชุมชนร่วมกัน) จะยอมรับนโยบาย สนับสนุนนโยบาย และร่วมปฏิบัตินโยบายเหล่านั้นอย่างกระตือรือร้น (จากหนังสือ To Empower People : เบอร์เกอร์ และนิวเฮาส์ : อ้างอิงจาก ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)
  4. เรามักจะเก็บคำว่า “การเมือง” ไว้ใช้กับอะไรที่เราไม่ชอบ โดยเฉพาะเมื่อเราพูดถึงการทำอะไรเพื่ออำนาจ หรือผลประโยชน์อย่างไม่ชอบธรรม โดยไม่มีเหตุผลที่ถูกต้อง และไม่มีหลักวิชารองรับ และเรามักจะรู้สึกว่าการเมือง คือ สิ่งไม่ดีที่คนอื่น ๆ หรือผู้อื่นเป็นผู้กระทำ หาใช่สิ่งที่ตนเอง หรือคนดีที่ตัวเรารักใคร่นับถือเป็นผู้กระทำไม่ (ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ : หนังสือ “ประชาสังคม” หน้า 76)

วาทะของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

อับราฮัม ลินคอล์น

  1. จงทำลายศัตรูของท่าน ด้วยการทำให้เขาเป็นมิตร
  2. การกระทำ ดังกว่าคำพูด
  3. การปกครองในระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองโดยประชาชน ของประชาชน เพื่อประชาชน
  4. กฎที่แท้จริง ในการตัดสินใจว่าจะเลือกรับหรือไม่รับอะไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงเพราะว่า "มันไม่ดี" แต่ต้องดูว่า "ส่วนที่ไม่ดี" นั้น มากกว่า"ส่วนที่ดี"หรือเปล่า "จุดที่ดี" หรือ "ไม่ดี" มีกี่จุด กฎนี้ใช้ได้กับทุกอย่าง โดยเฉพาะนโยบายรัฐบาล ทุกอย่างประกอบด้วยสององค์ประกอบที่แยกกันไม่ออก เราต้องชั่งน้ำหนักให้ดี
  5. ข้าพเจ้าเป็นคนเดินช้า แต่ไม่เคยเดินถอยหลัง
  6. การเงียบแล้วปล่อยให้ใคร ๆ คิดว่าเราโง่ ดีกว่าเปิดปากแล้วข้อสงสัยกระจ่าง
  7. ถ้าข้าพเจ้ามีเวลา 6 ชั่วโมงในการตัดต้นไม้ จะเอา 4 ชั่วโมงไว้ ลับขวาน
  8. เมื่อแน่ใจว่ายืนอยู่ในที่ ๆ ถูกต้อง ยืนให้มั่น
  9. ถ้าเปรียบคนกับต้นไม้ ชื่อเสียงเหมือนกับรูปลักษณ์ต้นไม้ "เงา" คือ สิ่งที่ทำให้เรานึกถึงต้นไม้ แต่ "ต้นไม้" คือ "สิ่งที่แท้จริง"
  10. เมื่อข้าพเจ้าทำดีข้าพเจ้าจะรู้สึกดี เมื่อทำเลวก็จะรู้สึกไม่ดี นั่นแหละศาสนาของข้าพเจ้า
  11. เราไม่สามารถเลี่ยงความรับผิดชอบในวันพรุ่งนี้ โดยเลี่ยงมันวันนี้
  12. คุณอาจจะหลอกคนทุกคนได้ในบางเวลา คุณอาจจะหลอกคนบางคนได้ตลอดเวลา แต่คุณไม่สามารถหลอกคนทุกคนได้ตลอดเวลา

บิล คลินตัน หากคุณอ่านหนังสือพิมพ์วันละ 6 ฉบับ ทุก ๆ วัน คุณก็จะมีความรู้พอ ๆ กับรัฐมนตรี

เบนจามิน แฟรงคลิน

  1. จงอย่ามีภรรยา หากท่านยังไม่มีบ้านที่จะให้เธออยู่
  2. ท่านรักชีวิตหรือไม่ ถ้าอย่างนั้นจงอย่าเสียเวลากับเรื่องไร้ประโยชน์ เพราะเวลาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตท่าน

โรนัลด์ เรแกน จงหาคนเก่ง ๆ มายืนล้อมรอบตัวท่าน ให้อำนาจแก่เขา และอย่าแทรกแซง

โทมัส เจฟเฟอร์สัน ถ้าข้าพเจ้าต้องเลือกระหว่างการมีรัฐบาลแต่ไม่มีหนังสือพิมพ์ หรือการมีหนังสือพิมพ์แต่ไม่มีรัฐบาล ข้าพเจ้าจะเลือกเอาอย่างหลัง

บารัค โอบามา

  1. คนที่เขาเลือกเหล่านั้น มีประสบการณ์ที่ช่ำชองในสาขานั้น ๆ สิ่งที่เขาจะทำก็คือ ผสานประสบการณ์ (กลุ่มคนรุ่นเก่า) ให้เข้ากับแนวคิดใหม่ ๆ (กลุ่มคนรุ่นใหม่) เข้าด้วยกัน เพื่อกำหนดขึ้นเป็นวิสัยทัศน์ (ให้เกิดแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ) ของประเทศ คำตอบของ “บารัค โอบามา” ต่อคำถามที่ว่า เขาจะสร้าง “การเปลี่ยนแปลง” ได้อย่างไร ในเมื่อเขาดึงคนที่เคยทำงานร่วมกับอดีตประธานาธิบดี “บิล คลินตัน” มาร่วมงานมากมาย
  2. เรื่องของการเมือง เป็นมากกว่าการใช้คำพูดที่คนฟังอยากได้ยิน หรือการเข้าถึงประชาชนได้เพียงอย่างเดียว ยังเป็นเรื่องของการรู้จักคำนวณจังหวะและโอกาส รู้จักแสวงหาเงินสนับสนุน รู้จักประจบเอาใจกลุ่มผู้มีอำนาจซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้ได้ และที่สำคัญต้องรู้จักกำหนดยุทธวิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น