วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการพูดคุย

 
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร ปัจจุบัน (2555/2012)ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกอาวุโส สังกัดกองพัฒนางานบุคคล ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล โดยดูแลงานด้านแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรขององค์กร

บทความนี้

ผู้เขียนได้อ่านบทความมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2556 ของ "คุณไพศาล เสาเกลียว กับ ปกรณ์ พึ่งเนตร" ที่กล่าวถึงบทสัมภาษณ์โดยย่อจาก "พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ" ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กรณีการพูดคุยเรี่องดับไฟใต้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจมาก จึงได้นำประเด็นสรุปในเชิงหลักการพูดคุยตามแนวทางสันติวิธีดัวกล่าว มานำเสนอไว้ในบล็อกนี้

โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อการศึกษาของตัวผู้เขียนเอง รวมทั้งผู้ที่เห็นว่าน่าสนใจ และเห็นว่าอาจจะนำไปปรับใช้งานในด้านต่าง ๆ ได้

การกำหนเดแนวทาง

1. กำหนดโครงสร้างของคุณะพูดคุย คือ จะต้องประกอบด้วยใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวบ้าง การแบ่งหน้าที่ในการทำงานอย่างไร เช่น ส่วนราชการ ภาคเอกชน หรือภาคส่วนอื่น ๆ เช่น การใช้ภาคประชาสังคมและเครือข่ายที่ได้สร้างไว้เป็นตัวขับเคลื่อนในการลงพื้นที่ ฯลฯ

2. สร้างระบบการพูดคุย คือ เป็นรูปแบบการพูดคุยในแบบ "ขนมชั้น" หมายถึง การคุยกันเป็นลำดับขั้น ไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ระดับบนไปถึงระดับล่าง อาจจะมีรูปแบบการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการประกอบไปด้วย

3. รวบรวมกลุ่มคนจากกลุ่มต่าง ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ ให้มีพื้นที่คิดและสื่อออกไป (ด้วยแนวทางสันติวิธี) โดยจะทำหน้าที่คุยในที่ต่าง ๆ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาเชื่อมประสานกัน เช่น นักคิดผู้มีความสามารถจากที่ต่าง ๆ เพื่อให้เป็นถังความคิดหรือ think tank ของคณะ

ประเด็นสำคัญ การสร้างระบบการพูดคุย และการสร้าง think tank เป็นเรื่องสำคัญมาก

การนำแนวทางที่กำหนดไว้ไปดำเนินการ

1. การพูดคุย มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประเด็นที่เป็นความต้องการที่แท้จริงจากพื้นที่ที่เราลงไปศึกษาหรือพูดคุย เป็นการนำประเด็นที่ได้รับมาตกผลึก

2. การสื่อสารสิ่งที่ได้พูดคุย ให้แก่คนนอกพื้นที่ได้รับทราบผ่านสื่อ เพื่อให้เข้าใจบริบทของพื้นที่ที่ลงไปพูดคุย ซึ่งต้องมีการประสานกับสมาคมสื่อต่าง ๆ ไปพร้อมกัน

3. การสอดประสานความคิด กับการทำงานของทีม think tank โดยหากประเด็นไหนที่เห็นตรงกันก็เห็นชอบเป็นเรื่อง ๆ แล้วนำมารวบรวมเพื่อเป็นข้อเสนอต่อไป

4. การศึกษาจากกรณีศึกษาในที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางเปรียบเทียบ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของ "โรดแมพ" ของการพูดคุย

คำตอบที่ได้รับจากการพูดคุย

       อาจจะต้องมีความหลากหลาย ซึ้งความหลากหลายของรูปแบบที่เป็นคำตอบที่เกิดขึ้น จะต้องมีการพูดคุยกันอย่างละเอียดต่อไป เพื่อหาความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

การนำเสนอหัวข้องานวิจัยแบบกระชับ

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/

       สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร ปัจจุบัน (2555/2012)ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกอาวุโส สังกัดกองพัฒนางานบุคคล ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล โดยดูแลงานด้านแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรขององค์กร

       บทความนี้  ได้นำเนื้อหาโดยย่อมาจากการเล็คเชอร์ในชั้นเรียนของตัวผู้เขียนเอง ซึ่งบรรยายโดย ผศ.อร่าม ศิริพันธ์ แห่งภาควิชารัฐประศาสนศาตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาของตัวผู้เขียนเอง และท่านที่เห็นว่าน่าสนใจพอที่จะนำไปปรับใช้งานได้ครับ

หลักพื้นฐานการออกแบบงานวิจัย (Research Design)

            -  จะระบุปัญหา  ว่าปัญหาของงานวิจัยชิ้นนี้  "อยู่ตรงไหน"
            -  จะระบุปัญหาก็ต้องมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่เรียน  เช่น ในทางรัฐประศาสนศาสตร์  ก็อาจจะต้องดูในหัวข้อความเกี่ยวข้องเชิงเนื้อหา  ว่าเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะในเรื่องใดและอย่างไร  โดยมีหลักที่ว่า
                        +  เราต้องใช้แว่นในการมองให้ถูกต้อง
                        +  เราต้องถอด Research Question ออกมาเป็น  “สมมุติฐาน”  หรือ คำตอบล่วงหน้า  เพื่อดูว่า  “เราจะยอมรับ”  หรือ  “ไม่ยอมรับ”
                        +  เราจะเก็บข้อมูลอย่างไร
            -  จะใช้ความรู้ / ทฤษฎี  ในทางศาสตร์ที่เราเรียน เช่น  ทางรัฐประศาสนศาสตร์ มาเกี่ยวโยงอย่างไร  เช่น  มีความเป็นนโยบายสาธารณะ  คือ  เราทำงานด้านโรงแรม  ก็อาจะต้องอ้างถึงเรื่องนโยบายการท่องเที่ยว
            -  จะพัฒนาเครื่องมือ  (การแปลงทฤษฎี)  เพื่อนำมาใช้ในการเก็บ   รวบรวม  แลเประมวลผลข้อมูลอย่างไร  และ
                        +  เราจะเสนอทางออกที่เป็นรูปธรรมได้ไหม
                        +  เราจะประมวลข้อมูลอย่างไร

กรอบแนวทางในการนำเสนอหัวข้อวิจัย (อย่างกระชับ)

            เราอาจนำแนวคิด 4P  มาลองปรับใช้  เป็นแนวทางในการนำเสนอความก้าวหน้าให้แก่คณะกรรมการได้รับทราบการทำวิจัยของตัวเรา ดังนี้
                        -  Phenomena  บอกได้ถึง  ที่มา  หรือสภาพปัญหา  ว่างานวิจัยครั้งนี้  เรามีที่มาจากอะไร
                        -  Problem  บอกให้ได้ว่า  “ปัญหา”  ของงานวิจัยครั้งนี้  มันอยู่ตรงไหน
                        -  Probability  บอกได้ว่า  เราเอา  “ทฤษฎี”  ตามศาสตร์ที่เราเรียน  เรานำตัวใดมาจับประเด็นประกอบในการทำวิจัยครั้งนี้
                        -  Proposal  บอกได้ว่า  เรามีข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยครั้งนี้อย่างไรบ้าง

            ทั้งหมดนี้  ถือเป็นเทคนิคการนำเสนออย่างย่อเพื่อให้เรานำไปลองปรับใช้กันดูครับ


กฎของเลข 72

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/

สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร ปัจจุบัน (2555/2012) ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกอาวุโส สังกัดกองพัฒนางานบุคคล ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล โดยดูแลงานด้านแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรขององค์กร

บทความนี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือ "101 เคล็ดวิชาที่ฉันได้มาจาก Harvard Business School" ของ "Michael W.Preist and Matthew Frederick" ในหัวข้อที่ผมสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาของตัวผมเอง และท่านที่อาจจะสนใจ

เนื้อหา
       กฎ 72  เป็นการคาดการณ์จำนวนปีที่จะได้ผลตอบแทนเป็นสองเท่าของเงินลงทุน  ในกรณีที่รู้อัตราดอกเบี้ย  นั่นคือ  เพียงแค่นำอัตราดอกเบี้ยไปหาร 72 
       เช่น  การลงทุนที่ได้รับดอกเบี้ย 9 เปอร์เซ็นต์ต่อปี  จะได้ผลตอบแทนเป็นสองเท่าของเงินลงทุนเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 8 ปี (72 / 9) 
       โดยปกติ  ถ้าหารด้วยเลข 69 หรือ 70  จะมีความแม่นยำมากขึ้น  แต่เลข 72  เป็นตัวเลขที่หารง่ายกว่า  เพราะมีเลขหลายตัวที่หารด้วย 72 แล้วลงตัว
       สูตรนี้  อาจนำมาคิดกลับกันเพื่อใช้้คำนวณหาอัตราดอกเบี้ยได้ในกรณีที่รู้ระยะเวลาที่ต้องการได้ผลตอบแทนเป็นสองเท่าของเงินลงทุน 
       หรืออาจใช้คำนวณหาจำนวนปีที่มูลค่าเงินจะลดลงครึ่งหนึ่งอันเนื่องมาจากเงินเฟ้อ  ตัวอย่างเช่น ถ้าหากตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ที่ 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี  อำนาจการซื้อของเงิน 1 ดอลลาร์จะลดลงครึ่งหนึ่งภายในระยะเวลา 18 ปี (72 / 4)

อัตราดอกเบี้ยต่อปี
1%
2%
3%
4%
5%
6%
7%
8%
9%
จำนวนปีที่จะได้ผลตอบแทนเป็นสองเท่าของเงินลงทุน
72
36
24
18
14.2
12
10.3
9
8