e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร ปัจจุบัน (2555/2012)ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกอาวุโส สังกัดกองพัฒนางานบุคคล ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล โดยดูแลงานด้านแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรขององค์กร
บทความนี้ ได้นำเนื้อหาโดยย่อมาจากการเล็คเชอร์ในชั้นเรียนของตัวผู้เขียนเอง ซึ่งบรรยายโดย ผศ.อร่าม ศิริพันธ์ แห่งภาควิชารัฐประศาสนศาตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาของตัวผู้เขียนเอง และท่านที่เห็นว่าน่าสนใจพอที่จะนำไปปรับใช้งานได้ครับ
หลักพื้นฐานการออกแบบงานวิจัย (Research Design)
- จะระบุปัญหา ว่าปัญหาของงานวิจัยชิ้นนี้ "อยู่ตรงไหน"
- จะระบุปัญหาก็ต้องมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่เรียน เช่น ในทางรัฐประศาสนศาสตร์
ก็อาจจะต้องดูในหัวข้อความเกี่ยวข้องเชิงเนื้อหา
ว่าเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะในเรื่องใดและอย่างไร โดยมีหลักที่ว่า+ เราต้องใช้แว่นในการมองให้ถูกต้อง
+ เราต้องถอด Research Question ออกมาเป็น “สมมุติฐาน” หรือ คำตอบล่วงหน้า เพื่อดูว่า “เราจะยอมรับ” หรือ “ไม่ยอมรับ”
+ เราจะเก็บข้อมูลอย่างไร
- จะใช้ความรู้ / ทฤษฎี ในทางศาสตร์ที่เราเรียน เช่น ทางรัฐประศาสนศาสตร์ มาเกี่ยวโยงอย่างไร เช่น มีความเป็นนโยบายสาธารณะ คือ เราทำงานด้านโรงแรม ก็อาจะต้องอ้างถึงเรื่องนโยบายการท่องเที่ยว
- จะพัฒนาเครื่องมือ (การแปลงทฤษฎี) เพื่อนำมาใช้ในการเก็บ รวบรวม แลเประมวลผลข้อมูลอย่างไร และ
+ เราจะเสนอทางออกที่เป็นรูปธรรมได้ไหม
+ เราจะประมวลข้อมูลอย่างไร
กรอบแนวทางในการนำเสนอหัวข้อวิจัย (อย่างกระชับ)
เราอาจนำแนวคิด 4P มาลองปรับใช้
เป็นแนวทางในการนำเสนอความก้าวหน้าให้แก่คณะกรรมการได้รับทราบการทำวิจัยของตัวเรา
ดังนี้
- Phenomena บอกได้ถึง ที่มา
หรือสภาพปัญหา ว่างานวิจัยครั้งนี้ เรามีที่มาจากอะไร- Problem บอกให้ได้ว่า “ปัญหา” ของงานวิจัยครั้งนี้ มันอยู่ตรงไหน
- Probability บอกได้ว่า เราเอา “ทฤษฎี” ตามศาสตร์ที่เราเรียน เรานำตัวใดมาจับประเด็นประกอบในการทำวิจัยครั้งนี้
- Proposal บอกได้ว่า เรามีข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยครั้งนี้อย่างไรบ้าง
ทั้งหมดนี้
ถือเป็นเทคนิคการนำเสนออย่างย่อเพื่อให้เรานำไปลองปรับใช้กันดูครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น