วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการพูดคุย

 
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร ปัจจุบัน (2555/2012)ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกอาวุโส สังกัดกองพัฒนางานบุคคล ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล โดยดูแลงานด้านแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรขององค์กร

บทความนี้

ผู้เขียนได้อ่านบทความมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2556 ของ "คุณไพศาล เสาเกลียว กับ ปกรณ์ พึ่งเนตร" ที่กล่าวถึงบทสัมภาษณ์โดยย่อจาก "พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ" ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กรณีการพูดคุยเรี่องดับไฟใต้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจมาก จึงได้นำประเด็นสรุปในเชิงหลักการพูดคุยตามแนวทางสันติวิธีดัวกล่าว มานำเสนอไว้ในบล็อกนี้

โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อการศึกษาของตัวผู้เขียนเอง รวมทั้งผู้ที่เห็นว่าน่าสนใจ และเห็นว่าอาจจะนำไปปรับใช้งานในด้านต่าง ๆ ได้

การกำหนเดแนวทาง

1. กำหนดโครงสร้างของคุณะพูดคุย คือ จะต้องประกอบด้วยใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวบ้าง การแบ่งหน้าที่ในการทำงานอย่างไร เช่น ส่วนราชการ ภาคเอกชน หรือภาคส่วนอื่น ๆ เช่น การใช้ภาคประชาสังคมและเครือข่ายที่ได้สร้างไว้เป็นตัวขับเคลื่อนในการลงพื้นที่ ฯลฯ

2. สร้างระบบการพูดคุย คือ เป็นรูปแบบการพูดคุยในแบบ "ขนมชั้น" หมายถึง การคุยกันเป็นลำดับขั้น ไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ระดับบนไปถึงระดับล่าง อาจจะมีรูปแบบการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการประกอบไปด้วย

3. รวบรวมกลุ่มคนจากกลุ่มต่าง ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ ให้มีพื้นที่คิดและสื่อออกไป (ด้วยแนวทางสันติวิธี) โดยจะทำหน้าที่คุยในที่ต่าง ๆ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาเชื่อมประสานกัน เช่น นักคิดผู้มีความสามารถจากที่ต่าง ๆ เพื่อให้เป็นถังความคิดหรือ think tank ของคณะ

ประเด็นสำคัญ การสร้างระบบการพูดคุย และการสร้าง think tank เป็นเรื่องสำคัญมาก

การนำแนวทางที่กำหนดไว้ไปดำเนินการ

1. การพูดคุย มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประเด็นที่เป็นความต้องการที่แท้จริงจากพื้นที่ที่เราลงไปศึกษาหรือพูดคุย เป็นการนำประเด็นที่ได้รับมาตกผลึก

2. การสื่อสารสิ่งที่ได้พูดคุย ให้แก่คนนอกพื้นที่ได้รับทราบผ่านสื่อ เพื่อให้เข้าใจบริบทของพื้นที่ที่ลงไปพูดคุย ซึ่งต้องมีการประสานกับสมาคมสื่อต่าง ๆ ไปพร้อมกัน

3. การสอดประสานความคิด กับการทำงานของทีม think tank โดยหากประเด็นไหนที่เห็นตรงกันก็เห็นชอบเป็นเรื่อง ๆ แล้วนำมารวบรวมเพื่อเป็นข้อเสนอต่อไป

4. การศึกษาจากกรณีศึกษาในที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางเปรียบเทียบ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของ "โรดแมพ" ของการพูดคุย

คำตอบที่ได้รับจากการพูดคุย

       อาจจะต้องมีความหลากหลาย ซึ้งความหลากหลายของรูปแบบที่เป็นคำตอบที่เกิดขึ้น จะต้องมีการพูดคุยกันอย่างละเอียดต่อไป เพื่อหาความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น