วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรม

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com

http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/

พอดีผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับตัวชี้วัดจากหนังสือของคุณอาภรณ์  ภู่วิทยพันธุ์  และเห็นว่าน่าสนใจมาก  จึงได้คัดลอกเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดและวิธีการประเมินตัวชี้วัดพฤติกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Training Needs Analysis ลองศึกษากันดูครับ   : ที่มา / การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมบนพื้นฐานของ Competency โดย ดร.อาภรณ์  ภู่วิทยพันธุ์

การกำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรม

                การวัด Competency ที่กำหนดขึ้นในแต่ละข้อนั้นจะต้องกำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรม (Behavior Indicators : BIs)  ของแต่ละ Competency ดังต่อไปนี้

                1. ขึ้นต้นด้วยคำกริยา (Verb)  ตัวชี้วัดพฤติกรรมจะขึ้นต้นด้วยคำกริยาที่เน้นการกระทำ หรือการแสดงออก  ซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอคำกริยาที่สามารนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้  ได้แก่

ตัวอย่างคำกริยาที่เป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรม
รวบรวม
อธิบาย
สอนแนะ
แยกแยะ
กำหนด
จัดทำ
ตอบข้อซักถาม
ปฏิบัติ
ระบุ
ประเมิน
จัดเก็บ
ให้ข้อเสนอแนะ
แสดงออก
อ้างอิง
เปรียบเทียบ
จัดพิมพ์
ให้คำปรึกษาแนะนำ
ประสานงาน
ตรวจสอบ
คาดการณ์

                2.  คำกริยาที่กำหนดต้องวัดและประเมินได้  ตัวชี้วัดพฤติกรรมที่กำหนดจะต้องวัดและประเมินได้  ซึ่งการวัดและประเมินได้จะพิจารณาจาก
                                -  ข้อสอบ  เพื่อวัดความรู้และความเข้าใจ
                                -  แบบทดสอบ  เพื่อวัดทักษะและคุณลักษณะภายในส่วนบุคคล
                                -  การสังเกตพฤติกรรม  เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจทักษะ และคุณลักษณะภายในส่วนบุคคล
                                -  การทดลองปฏิบัติจริง  เพื่อวัดทักษะ
                                -  การหาหลักฐานมายืนยัน  เพื่อวัดทักษะ เช่น แผนงาน  รายละเอียดกิจกรรม  และรายละเอียดโครงการ
                                -  การสัมภาษณ์  เพื่อวัดความรู้  ทักษะ  และคุณลักษณะภายในส่วนบุคคล

                3.  ตรวจสอบได้  ตัวชี้วัดพฤติกรรมที่กำหนดขึ้น  จะต้องสามารถตรวจสอบได้จากบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  เพื่อนร่วมงาน  ตนเอง  ลูกค้า  และคู่ค้า  ซึ่งองค์การสามารถกำหนดกลุ่มผู้ประเมินมากกว่า 1 กลุ่ม  เพื่อตรวจสอบผลการประเมินพฤติกรรม  เป็นการตรวจสอบในลักษณะการประเมินแบบ 360 องศา  เป็นการประเมินจากคนรอบข้างครบทุกกลุ่ม  หรือการเลือกประเมินแบบ 180 องศา  เป็นวิธีการประเมินที่เน้นผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และหรือตนเองประเมิน

                4.  เป็นข้อหลักและมีความสำคัญ  ตัวชี้วัดพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นนั้น  จะต้องเป็นข้อหลักและมีความสำคัญต่อองค์การ  ถ้าไม่มีตัวชี้วัดพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นนี้จะส่งผลต่อผลสำเร็จของงานที่พนักงานรับผิดชอบ  ดังนั้น การกำหนดจำนวนข้อ BIs  ของ Competency แต่ละข้อนั้นจะไม่เกิน 4 ข้อ  เช่น  ความสามารถเรื่องจิตสำนึกบริการ  กำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรม (Behavior Indicators : BIs) ดังนี้
                                -  ให้ข้อมูล  ที่ครบถ้วนถูกต้องกับลูกค้า
                                -  แสดงออก  ถึงความเต็มใจในการให้บริการลูกค้า
                                -  อาสา  ช่วยเหลือลูกค้าก่อนโดยที่ลูกค้าไม่ต้องร้องขอ

                กล่าวโดยสรุป การกำหนด Competency ที่คาดหวังของตำแหน่งงาน (Expected Competency : E)  ถือได้ว่า  เป็นด่านแรกการจัดทำ Training Needs Analysis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น