วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

งานวิจัย-สำรวจ : การศึกษาการจัดทำตัวชี้วัดในงานทรัพยากรมนุษย์ HR Measurement

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotthsurasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/


ผู้เขียนได้อ่านเจองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้าน HR ของ สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย  เมื่อปี 2550  นับว่าทันสมัยและสอดคล้องกับงานด้าน HR โดยส่วนใหญ่  มีการสำรวจว่าตัวชี้วัดด้าน HR คืออะไรบ้าง  โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างตัวชี้วัดที่ครอบคลุมมากทีเดียว (ลองดูตั้งแต่หน้า 31 ไปครับ) เห็นว่าน่าสนใจดีครับ จึงขอนำมาโพสต์ไว้ตรงนี้เพื่อปรับใช้งานและแก่ผู้ที่สนใจครับ  ลองคลิกเข้าไปที่ Link นี้ดูครับ 
http://www.hrd.nida.ac.th/hrodnida/rtefile/rte_579.pdf

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ค่านิยมร่วมขององค์การ : ศึกษากรณี สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotthsurasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/


งานวิจัยค่านิยมร่วม (ผู้วิจัย :นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข) คลิกตาม Link นี้ครับ https://skydrive.live.com/?cid=170e0e0b0153c73e#!/view.aspx?cid=170E0E0B0153C73E&resid=170E0E0B0153C73E%21415&app=WordPdf

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดัชนีสภาวะธรรมาภิบาล (Governance Indicator)

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotthsurasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/

               ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล  ผู้เขียนอ่านเจอจากรายงาน “การพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี 2554”  ของ ก.พ.ร.  เห็นว่าน่าสนใจดีและน่าจะมีประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้ในโอกาสต่าง ๆ ในการทำงาน  จึงขอนำมาโพสต์ไว้เพื่อการช่วยจำและทุกท่านได้ลองศึกษาดูครับ……..สำนักงานธรรมาภิบาลโลก  ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีสภาวะธรรมาภิบาลโลก (Worldwide Governance Indicator-WGI) จาก 213 ประเทศ ใน Governance Matters 2011 โดยใช้ดัชนีสภาวะธรรมาภิบาล (Governance Indicator)  6 มิติ  ดังนี้ครับ

1)     การมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนและภาระรับผิดชอบ (Voice and Accountability)  เกี่ยวข้องกับการที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลด้วยตนเอง  รวมถึงการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน  ตลอดจนในการชุมนุมและสมาคม

2)     ความมีเสรีภาพทางการเมืองและการปราศจากความรุนแรง (Political Stability and Absence of Violence)  เป็นเรื่องของโอกาสความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะไร้เสถียรภาพหรือถูกโค่นล้ม  โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เช่น การใช้ความรุนแรงทางการเมืองและการก่อการร้าย 

3)     ประสิทธิผลของรัฐบาล (Government Effectiveness)  เป็นการให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพการให้บริการและความสามารถของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ตลอดจนความเป็นอิสระจากการแทรกแซงทางการเมือง  รวมถึงคุณภาพการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ  ความมุ่งมั่นจริงจังของรัฐบาลที่มีต่อนโยบายดังกล่าว

4)     คุณภาพของมาตรการควบคุม (Regulatory Quality)  เป็นเรื่องขีดความสามารถของรัฐบาลในการกำหนดนโยบายและออกมาตรการควบคุม  รวมถึงการบังคับใช้นโยบายและมาตรการดังกล่าว  ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเอื้อต่อการส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถพัฒนาได้

5)    นิติธรรม (Rule of Law)  เกี่ยวข้องกับระดับของการที่บุคคลของฝ่ายต่าง ๆ มีความมั่นใจและยอมรับปฏิบัติตามกติกาในการอยู่ร่วมกันของสังคม  โดยเฉพาะคุณภาพของการบังคับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข  สัญญา  การตำรวจ  และการอำนวยความยุคิธรรม  รวมถึงโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาชญากรรมและความรุนแรง

6)     การควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ (Control of Corruption)  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทั้งในรูปแบบของการทุจริตประพฤติมิชอบเพียงเล็กน้อย  หรือขนานใหญ่  รวมถึงการเข้าครอบครองรัฐโดยชนชั้นนำทางการเมืองและนักธุรกิจเอกชน  ที่มุ่งเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เคล็ดลับในการสร้างทางเลือก เพื่อประกอบการตัดสินใจ

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotthsurasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/

            บทความนี้  ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจดีหลังจากได้อ่านพบในเรื่องของเทคนิคการตัดสินใจ  ในชื่อหนังสือ  “การตัดสินใจทางธุรกิจ จากชุดหนังสือ Harvard Business Essentials   ซึ่งสอดคล้องกับงานอื่น ๆที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานในองค์กร เช่น ในการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาต่าง ๆ เข้ามาทำงานในองค์กรของผู้เขียน ได้มีการนำบางแนวทางดังกล่าวเข้ามาใช้งานเพื่อสร้างเป็นหลักในการทำงานขั้นต่อไปของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ  ถือเป็นแนวทางที่สามารถปรับใช้งานได้ในทุกองค์กรทีเดียว  จึงได้ตัดตอนบางประเด็นให้แก่ผู้สนใจ  ลองศึกษาดูครับ

            “เมื่อเราจัดการประชุมเพื่อหาทางเลือกต่าง ๆ นั้น  ให้ทำตามข้อแนะนำต่อไปนี้

            1)   เชิญบุคคลภายนอก ผู้เชี่ยวชาญ และแม้แต่คนที่ไม่มีความรู้หรือไม่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น  ให้มาเข้าร่วมในการประชุมของคุณเป็นระยะ  เพราะบุคคลภายนอกเหล่านี้จะทำให้คุณได้ความคิดที่แปลกใหม่  มุมมองที่แตกต่าง  และคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ

            2)  ใช้การเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking)  หรือการเปรียบเทียบดูว่า  บริษัท  หรืออุตสาหกรรมอื่นที่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกับคุณ  มีการพิจารณาและคิดอย่างไรเกี่ยวกับปัญหานั้น  รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหานั้นทำอย่างไร

            3)  ส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มตัดสินใจรับบทบาทที่ต่างออกไปจากเดิม  เมื่อพวกเขาต้องคิดหาทางเลือกใหม่ ๆ  เช่น  ถ้าคุณกำลังพยายามที่จะระดมความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่  ขอให้คุณเชิญคนจากฝ่ายการตลาดเข้ามาร่วมแสดงความคิดด้วย  แต่ให้คน ๆ นั้น  แสดงความคิดในมุมมองหรือในฐานะของฝ่ายการเงินมิใช่ฝ่ายการตลาด  คุณอาจจะได้รับความคิดที่สร้างสรรค์มากขึ้น  เมื่อผู้ที่เข้าร่วมได้แสดงความคิดในบทบาท หรือในฐานะที่แตกต่างไปจากเดิม

            4)  ถามคำถามเจาะลึก  เช่น  “เราควรพิจารณาทางเลือกใดบ้าง ?”  และ  “เราควรจะตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง...อย่างไร ?”  การถามคำถามในลักษณะนี้จะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการตัดสินใจเลือกทางแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งเร็วเกินไป  ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด  คำถามเจาะลึกแบบที่สำคัญที่สุดก็คือคำถามที่สามารถตรวจสอบได้ว่า  สมมติฐาน  หรือข้อคิดเห็นของคนในกลุ่มนั้นมีทางเป็นไปได้หรือไม่  และควรเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสมมติฐานเหล่านั้นอย่างเปิดเผยด้วย

            5)  เต็มใจและยินดีที่จะรับฟังและพิจารณาความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากของคุณเอง  ไม่ใช่เรื่องง่าย  และผู้นำกลุ่มก็จะต้องมีพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างให้กับสมาชิกในกลุ่มด้วย  ถ้าหากผู้นำกลุ่มแสดงให้สมาชิกในกลุ่มเห็นว่าได้เปิดใจยอมรับและให้ความสนใจในความคิดที่แตกต่างจากตนเอง  สมาชิกในกลุ่มก็จะสังเกตเห็นและปฏิบัติตามนั้นเช่นกัน

            6)  ย้อนกลับไปทบทวนทางเลือกที่เคยตัดทิ้งไปบ้างเป็นระยะ ๆ  เพื่อให้แน่ใจว่าทางเลือกเหล่านั้นถูกตัดตอนออกไปอย่างสมเหตุสมผล

            7)  อย่ามองข้าม  ทางเลือกแบบลูกผสม (Hybrid alternative)  มีหลายกรณีที่มีความเป็นไปได้ในการผสมผสานคุณลักษณะที่ดีที่สุดของทางเลือกหลายทางเลือกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้กลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าเดิม  เช่น รถสปอร์ตอเนกประสงค์รุ่นยอดนิยม  หรือรถ SUV ซึ่งเป็นสิ่งผสมผสานระหว่างคุณลักษณะที่ดีที่สุดของรถกระบะบรรทุก (Light truck) กับรถบรรทุกกึ่งโดยสาร (Station wagon)  เช่นเดียวกับรถเก๋งกึ่งรถตู้ (Minivan) ที่เกิดขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 80  ซึ่งเป็นการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างรูปทรง  และโครงสร้างการใช้งานแบบรถตู้กับสิ่งอำนวยความสะดวกแบบรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตัวแปรที่ต้องนำมาใช้ในการประเมินทางเลือก

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotthsurasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com
http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/

                เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวทางการตัดสินใจ  และเราต้องกำหนดทางเลือกขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในตัดสินใจดังกล่าว  ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจดี เราสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการตั้งคำถามที่สำคัญในการใช้ทางเลือก จึงได้ตัดลอกมาครับ  (ที่มา : หนังสือการตัดสินใจทางธุรกิจ จากชุดหนังสือ “Harvard Business Essentials”)
                ในการตัดสินใจ  เมื่อเราได้ระบุทางเลือกได้แล้ว  เราจำเป็นต้องประเมินว่าทางเลือกแต่ละทางจะทำให้เราสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่เราได้กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการนี้ได้มากแค่ไหน โดยดูว่าแต่ละทางเลือกจะมีประโยชน์ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
                การที่เราจะตอบคำถามนี้ได้  ผู้นำกลุ่มต้องนำปัจจัยจำนวน 9 ปัจจัย  ดังต่อไปนี้มาพิจารณา (ผ่านการตั้งคำถาม) ดังนี้
                1)  ค่าใช้จ่าย  
                                1.1)  ทางเลือกนั้น  ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร ?
                                1.2)  ทางเลือกนั้น  จะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในตอนนี้  หรือว่าในระยะยาว ?
                                1.3)  ทางเลือกนั้น  มีค่าใช้จ่ายอื่นแอบแฝงหรือไม่ ?
                                1.4)  ทางเลือกนั้น  มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอนาคต ?
                                1.5)  ทางเลือกนั้น  อยู่ภายใต้งบประมาณที่กำหนดไว้หรือไม่ ?
                2)  ผลกำไรหรือผลประโยชน์
                                2.1)  ทางเลือกนั้น  เราจะได้กำไรเท่าไร  หรือจะไดผลประโยชน์อะไรจากการนำทางเลือกนี้ไปปฏิบัติ ?
                                2.2)  ทางเลือกนั้น  จะทำให้คุณภาพสินค้าของเราสูงขึ้นหรือไม่ ?
                                2.3)  ทางเลือกนั้น  จะทำให้ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ ?
                                2.4)  ทางเลือกนั้น  จะทำให้พนักงานของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นหรือไม่ ?
                3)  ผลกระทบทางการเงิน
                                3.1)  ทางเลือกนั้น  จะทำให้ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินจากทางเลือกนี้  สามารถวัดผลด้วยมูลค่าปัจจุบันสุทธิได้หรือไม่ ?
                                3.2)  ทางเลือกนั้น  ต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไรจึงจะได้ผลลัพธ์ดังกล่าว ?
                                3.3)  การนำทางเลือกนี้ไปปฏิบัติ  จะทำให้เราต้องกู้ยืมเงินหรือไม่ ?
                4)  สิ่งที่จับต้องไม่ได้
                                4.1)  ชื่อเสียงของบริษัทเราจะดีขึ้นหรือไม่  ถ้าเรานำทางเลือกนี้ไปปฏิบัติ ?
                                4.2)  ทางเลือกนั้น  จะทำให้ลูกค้าหรือพนักงานของเรา  มีความพึงพอใจและมีความภักดีมากขึ้นหรือไม่ ?
                5)  ระยะเวลา
                                5.1)  เราจะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไร  ในการนำทางเลือกนี้ไปปฏิบัติ ?
                                5.2)  มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิดความล่าช้า ?   และความล่าช้านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อกำหนดการหรือแผนการที่วางไว้ ?
                6)  ความเป็นไปได้
                                6.1)  ทางเลือกนี้  สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ ?
                                6.2)  ทางเลือกนี้  มีอุปสรรคที่เราจะต้องหาทางขจัดให้ได้หรือไม่ ?
                                6.3)  ถ้าหากนำทางเลือกนี้ไปปฏิบัติจะเกิดการต่อต้านลักษณะใดบ้าง ?  การต่อต้านนั้นจะเกิดจากคนภายในหรือคนภายนอกองค์กร ?
                7)  ทรัพยากร
                                7.1)  การนำแต่ละทางเลือกมาปฏิบัติ  จะต้องใช้กำลังคนเท่าไร ?
                                7.2)  พนักงานที่เรามีอยู่พร้อมที่จะทำงานนี้  หรือว่าเราจะต้องรับพนักงานเข้ามาฝึกอบรมใหม่ ?
                                7.3)  มีโครงการใดบ้างที่จะได้รับความเสียหาย  ถ้าหากว่าพนักงานแต่ละคนให้ความสนใจและทุ่มเทให้กับทางเลือกนี้ ?
                8)  ความเสี่ยง
                                8.1)  ทางเลือกนี้  น่าจะมีความเสี่ยงในเรื่องใดบ้าง ?   เช่น ทำให้เราสูญเสียผลกำไรหรือความได้เปรียบทางการแข่งขันไปหรือไม่ ?
                                8.2)  ทางเลือกนี้  คู่แข่งจะตอบสนองอย่างไร ?
                                8.3)  เราจะใช้ข้อมูลอะไร  เพื่อลดความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนเหล่านี้ ?
                                8.4)  การทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ช่วยลดความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอน  จะเป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปหรือไม่ ?
                9)  จริยธรรม
                                9.1)  ทางเลือกนี้  ถูกกฎหมายหรือไม่ ?
                                9.2)  ทางเลือกนี้  ทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า  พนักงาน  และชุมชนที่เราดำเนินธุรกิจอยู่หรือไม่ ?
                                9.3)  เราจะรู้สึกสะดวกใจหรือไม่  ถ้าหากมีคนอื่นที่รู้ว่าเรากำลังพิจารณาทางเลือกนี้อยู่ ?

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรม

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com

http://surasak-akkaraareesuk.blogspot.com/

พอดีผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับตัวชี้วัดจากหนังสือของคุณอาภรณ์  ภู่วิทยพันธุ์  และเห็นว่าน่าสนใจมาก  จึงได้คัดลอกเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดและวิธีการประเมินตัวชี้วัดพฤติกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Training Needs Analysis ลองศึกษากันดูครับ   : ที่มา / การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมบนพื้นฐานของ Competency โดย ดร.อาภรณ์  ภู่วิทยพันธุ์

การกำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรม

                การวัด Competency ที่กำหนดขึ้นในแต่ละข้อนั้นจะต้องกำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรม (Behavior Indicators : BIs)  ของแต่ละ Competency ดังต่อไปนี้

                1. ขึ้นต้นด้วยคำกริยา (Verb)  ตัวชี้วัดพฤติกรรมจะขึ้นต้นด้วยคำกริยาที่เน้นการกระทำ หรือการแสดงออก  ซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอคำกริยาที่สามารนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้  ได้แก่

ตัวอย่างคำกริยาที่เป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรม
รวบรวม
อธิบาย
สอนแนะ
แยกแยะ
กำหนด
จัดทำ
ตอบข้อซักถาม
ปฏิบัติ
ระบุ
ประเมิน
จัดเก็บ
ให้ข้อเสนอแนะ
แสดงออก
อ้างอิง
เปรียบเทียบ
จัดพิมพ์
ให้คำปรึกษาแนะนำ
ประสานงาน
ตรวจสอบ
คาดการณ์

                2.  คำกริยาที่กำหนดต้องวัดและประเมินได้  ตัวชี้วัดพฤติกรรมที่กำหนดจะต้องวัดและประเมินได้  ซึ่งการวัดและประเมินได้จะพิจารณาจาก
                                -  ข้อสอบ  เพื่อวัดความรู้และความเข้าใจ
                                -  แบบทดสอบ  เพื่อวัดทักษะและคุณลักษณะภายในส่วนบุคคล
                                -  การสังเกตพฤติกรรม  เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจทักษะ และคุณลักษณะภายในส่วนบุคคล
                                -  การทดลองปฏิบัติจริง  เพื่อวัดทักษะ
                                -  การหาหลักฐานมายืนยัน  เพื่อวัดทักษะ เช่น แผนงาน  รายละเอียดกิจกรรม  และรายละเอียดโครงการ
                                -  การสัมภาษณ์  เพื่อวัดความรู้  ทักษะ  และคุณลักษณะภายในส่วนบุคคล

                3.  ตรวจสอบได้  ตัวชี้วัดพฤติกรรมที่กำหนดขึ้น  จะต้องสามารถตรวจสอบได้จากบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  เพื่อนร่วมงาน  ตนเอง  ลูกค้า  และคู่ค้า  ซึ่งองค์การสามารถกำหนดกลุ่มผู้ประเมินมากกว่า 1 กลุ่ม  เพื่อตรวจสอบผลการประเมินพฤติกรรม  เป็นการตรวจสอบในลักษณะการประเมินแบบ 360 องศา  เป็นการประเมินจากคนรอบข้างครบทุกกลุ่ม  หรือการเลือกประเมินแบบ 180 องศา  เป็นวิธีการประเมินที่เน้นผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และหรือตนเองประเมิน

                4.  เป็นข้อหลักและมีความสำคัญ  ตัวชี้วัดพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นนั้น  จะต้องเป็นข้อหลักและมีความสำคัญต่อองค์การ  ถ้าไม่มีตัวชี้วัดพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นนี้จะส่งผลต่อผลสำเร็จของงานที่พนักงานรับผิดชอบ  ดังนั้น การกำหนดจำนวนข้อ BIs  ของ Competency แต่ละข้อนั้นจะไม่เกิน 4 ข้อ  เช่น  ความสามารถเรื่องจิตสำนึกบริการ  กำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรม (Behavior Indicators : BIs) ดังนี้
                                -  ให้ข้อมูล  ที่ครบถ้วนถูกต้องกับลูกค้า
                                -  แสดงออก  ถึงความเต็มใจในการให้บริการลูกค้า
                                -  อาสา  ช่วยเหลือลูกค้าก่อนโดยที่ลูกค้าไม่ต้องร้องขอ

                กล่าวโดยสรุป การกำหนด Competency ที่คาดหวังของตำแหน่งงาน (Expected Competency : E)  ถือได้ว่า  เป็นด่านแรกการจัดทำ Training Needs Analysis