วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

สู่อนาคต : อัตชีวประวัติที่น่าอ่าน

       เรื่องราวในลักษณะที่เป็น “อัตชีวประวัติ” ส่วนตัวของจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช หรือจอร์จ บุชผู้พ่อ ซึ่งเป็นถึงอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนที่ 41

       หนังสือค่อนข้างเก่า (ประมาณปี 2531) ตัวหนังสือผมได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อหลายปีก่อน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรณิจ หนังสือนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ได้ทั้งอบอุ่น (ชีวิตครอบครัว-ส่วนตัว) และน่าอ่าน (ประสบการณ์ในงาน) ทีเดียว

       โดยมีทั้งประเด็นที่นำเสนอในภาพกว้าง คือ ประสบการณ์การทำงานของตัวผู้เล่าเอง และประเด็นที่ลงลืกในรายละเอียด ทั้งจากชีวิตส่วนตัวของผู้เล่า และจากประสบการณ์ในการทำงานที่บอกเล่าให้เราได้รับรู้ถึงที่มาของครอบครัว ชีวิตเริ่มต้นของการทำงาน การตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งความทะเยอทะยานในชีวิตของผู้เล่า

        อยากแนะนำให้ลองหามาอ่านกันดูครับ เพราะประเด็นรายละเอียดจำนวนมากที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้ เราในฐานะคนทำงานสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างไม่ล้าสมัยแต่ประการใด

        ผู้เขียนเล่าถึงภาพรวามของตนเองทั้งหมด  ทั้งเรื่งงาน - ส่วนตัว - และครอบครัว

       เริ่มต้นตั้งแต่  การดำเนินชีวิตครอบครัวของผู้เขียนก็สามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ช่วงการเริ่มต้นชีวิตการทำงานในเท็กซัส การพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ก่อนการตัดสินใจ (การเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศจีน หรือประธานคณะกรรมาธิการพรรคริพับริกัน) การปรึกษาผู้มีประสบการณ์ที่มากกว่า (เช่น กับอดีตประธานาธิบดีจอห์นสัน) การจ้างทีมงานที่เหมาะสมในการเป็นทีมสนับสนุนระหว่างการดำรงตำแหน่งทางการเมือง การให้ความสำคัญกับครอบครัวไม่ว่างานจะยุ่งเพียงใด ความกล้าตัดสินใจที่มีจดหมายปิดผนึกไปยังอดีตประธานาธิบดีนิกสัน เป็นต้น

        หนังสือแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 บท ประกอบด้วย
          บทแรก  ที่กล่าวถึงช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ได้กล่าวถึงความผูกพันทั้งทางฝั่งบิดาและมารดา การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง การไปเริ่มต้นทำงานที่บริษัทน้ำมันในเท็กซัส
          บทสอง  จะกล่าวถึงช่วงการเติบโตทางธุรกิจน้ำมันที่เริ่มรุ่งโรจน์
          บทที่สาม  กล่าวถึงการเริ่มต้นชีวิตการเมือง
          บทที่สี่  เป็นช่วงที่ทั้งรุ่งโรจน์สุดในการเติบโตตำแหน่งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลนิกสัน (เอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ) สมัยรัฐบาลฟอร์ด (เอกอัครราชทูตประจำประเทศจีน ผู้อำนวยการซีไอเอ)
          และ  บทสุดท้าย  บทที่ 5  กล่าวถึงช่วงการรณรงค์หาเสียงเพื่อเป็นตัวแทนพรรคริพับริกันเพื่อการเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับโรนัลด์ เรแกน ก่อนที่เหตุการจะพัฒนากลายเป็นการเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีคู่กันในภายหลัง

       ที่น่าสนในอีกอันหนึ่ง  ในช่วงก่อนเข้าสู่บทแรก ผู้เขียนได้เล่าถึงที่มาของการจัดทำอัตชีวประวัติเล่มนี้ รวมถึงการเล่าให้เราได้รับทราบอย่างชนิดเกาะติดสถานการณ์  ในช่วงการเลือกตัวรองประธานาธิบดีเคียงคู่กับอดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ซึ่งในช่วงที่จะต้องมีการกำหนดตัวผู้เข้ามาเป็นรองประธานาธิบดีระหว่างตัวผู้เขียนกับอดีตประธานาธิบดีเจอรัล ฟอร์ด นับว่าเป็นการเมืองสไตล์อเมริกันขนานแท้เลยทีเดียว ที่ต้องมีทั้งการเจรจา การต่อรอง การล็อบบี้ผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ....

        ทั้งหมดนี้ อยากแนะนำให้เราได้ลองหามาอ่านกันดูครับ ถือเป็นการศึกษาประสบการณ์จากบุคคลที่มีความสามารถสูง ทั้งในเชิงลึกจากประวัติของเขา และในเชิงกว้างที่เราอาจจเคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตัวผู้เขียนในเรื่องนี้มาในอดีต ซึ่งสำหรับนักอ่านก็ไม่น่าจะผิดหวังในเรื่องของเนื่อหาที่ปรากฎอยู่ในเล่ม ที่มีความเข้มข้นที่อ่านได้สนุกราวกับนวนิยายเลยทีเดียวครับ..

สุรศักดิ์  อัครอารีสุข

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

หลักการบริหาร

นายสุรศักดิ์ อัครอารีสุข
173 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
e-mail : surasakdota@crownpropertydotordotth surasak.cpb@gmail.com surasak_cpb@hotmail.com
 
อ้างอิงจาก : บันทึกดี ๆ แห่งชีวิต  โดยกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร
 
1. การบริหารคนบนความแตกต่าง
       1.1  สร้างเป้าหมายร่วมกัน
       1.2  ศึกษา  ทำความเข้าใจ  และยอมรับในเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละฝ่าย
       1.3  หาวิธีการทำงานร่วมกันที่สร้างความขัดแย้งน้อยที่สุด
       1.4  ขอให้แต่ละฝ่ายมองข้อดีของกันและกัน  แล้วนำมาปรับใช้กับตัวเอง
       1.5  พยายามมองหาจุดยืนร่วมกันของทั้งสองฝ่าย  เช่น  ทำให้เขารักในสิ่งเดียวกัน  มีวัตถุปรเะสงค์เดียวกัน ฯลฯ
       1.6  ตอกย้ำถึงความสำคัญของการพึ่งพาอาศัยกัน
       1.7  จัดกิจกรรมเพื่อผูกใจของคนในองค์กรเข้าด้วยกัน
 
2.  การถกแถลง - การบริหารแบบทหาร
       การถกแถลง  จะต้องกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะนำมาถกก่อนว่าจะครอบคลุมเฉพาะส่วนไหน  แต่ละส่วนจะต้องใช้เวลาเท่าไร  แล้วจึงคุยกันเฉพาะกรอบนั้นตามเวลาที่กำหนด  ทำให้สามารถหาข้อสรุปได้ภายในเวลา  สามารถนำใช้ได้ในการระดมความคิด (brain storm) ในองค์กร  ซึ่งมีประสิทธิภาพมาก และเป็นแนวทางของทหาร (ได้มาจากการอบรม วปอ.)
       ขั้นตอนการถกแถลง
       1.)  แจ้งเรื่องที่จะถกแถลง ใช้เวลา 5   นาที
       2.)  แจ้งข้้อตกลงเบื้องต้น  ใช้เวลา 5   นาที
       3.)  แจ้งข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ใช้เวลา 10 นาที
       4.)  ข้อพิจารณา (คือ การหาสาเหตุ) ใช้เวลา 10 นาที
       5.)  สรุปเป็นคำบรรยาย ใช้เวลา 5   นาที
       6.)  ข้อเสนอแนะ ใช้เวลา 10 นาที
                     รวม   ใช้เวลา 45 นาที

3.  .........................................................................
 
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข มีประสบการณ์และคลุกคลีในงานด้านนโยบายและแผน และงานด้านการจัดการองค์กรมามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงการแก่ผู้บริหารโครงการขององค์กร  ปัจจุบัน  ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกอาวุโส สังกัดกองพัฒนางานบุคคล ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล โดยดูแลงานด้านแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรขององค์กร