เมื่อช่วงต้นปี 2555 (21 มกราคม 2555) ผมได้มีโอกาสเข้ารับฟังหัวข้อการเสวนาที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีลักษณะเป็นการเชิญศิษย์เก่าของคณะที่จบไปแล้ว จำนวน 4 ท่าน และทุกท่านก็ทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทั้งหมด มาบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียน การสอบ การทำวิจัย ไปจนถึงการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยระหว่างการเรียนในระดับปริญญาเอก
ซึ่งหลายประเด็นที่นำเสนอขึ้นก็นับว่าน่าสนใจ ที่เราสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในเรื่องการเรียน และการทำงานของเราทุกคน
ในประเด็นเริ่มต้น เริ่มจากที่คณบดี คือ ศ.ดร.ศุภชัย ยาวประภาษ ได้พูดถึงประเด็นที่ว่า ทั้งที่บุคลากรที่จบปริญญาเอกจากคณะเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก แต่ทำไมจึงมีคนมาเรียนน้อยนัก และทางคณะจะทำอย่างไร จึงจะสร้างแรงจูงใจให้คนหันมาเรียนกันมากขึ้น ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก และแม้แต่ตัวผมเอง ก็มีความประสงค์ที่อยากจะเรียน แต่ก็ติดภารกิจทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว จึงยังไม่อาจปลีกตัวไปเรียนได้อย่างที่ตั้งใจไว้
ต่อไปเป็นประเด็นที่ผมได้มีโอกาสเข้าฟังและสรุปมา ลองศึกษาจากผู้รู้และมีประสบการณ์กันดูครับ
ประเด็นโดยย่อจากคำกล่าวเปิดงาน ของ ศ.ดร.ศุภชัย ยาวประภาษ
ปัจจุบันจุฬา มีระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า หนึ่งหมื่นคน
ปริญญาโทประมาณห้าพันกว่าคน
ปริญญาเอกประมาณหกสิบกว่าคน
คำถาม คือ “ทำไมจึงมีปริญญาเอกน้อยนัก” โจทย์ก็คือว่า “แล้วเราจะทำอย่างไรดี” ที่จะทำให้มีปริญญาเอกมากขึ้น ในเมื่อมีหน่วยงานจำนวนมากที่ต้องการคนจบปริญญาเอกของคณะอย่างมาก
การจัดงานครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนหันมาเรียนปริญญาเอกในสาขานี้กันมากขึ้น
เป็นการเรียกให้คนจบปริญญาเอกกลับมาเยี่ยมบ้าน
คำคม “การเรียนปริญญาเอกจะยากสุด ง่ายสุดคือปริญญาโท กลาง ๆ คือ ปริญญาตรี”
บอกเล่าประสบการณ์การเรียนปริญญาเอกโดยสรุป
วิธีการเรียน
การมาเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้เพื่อประกอบการทำงาน
การอ่านหนังสือด้วยตนเอง
การศึกษาด้วยวิธีการระดับปริญญาเอก คือ การแสดงความคิดเห็น และเราต้องค้นคว้ามานำเสนอในชั้นเรียน
การใช้วิธีไป Sit in ในชั้นเรียนระดับปริญญาโท ในหลากหลายสถาบัน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับตัวเรา เพื่อใช้ปรับพื้นฐาน
การเรียนด้วยการอ่านหนังสือจำนวนมาก ต้องอดทนเพื่อเรียนรู้จากนอกห้องเรียนอย่างมาก
การอ่านจากเอกสารที่หนักมาก อ่านยาก ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การแชร์กันอ่าน มาเสวนาร่วมกัน ไม่ถึงกับต้องกังวลมากนัก
การแบ่งเวลาเรียน
ผสมผสานกับชีวิตส่วนตัวอย่างดี เช่น เรื่องลูก เรื่องครอบครัว
บริหารเวลาให้ดี ๆ โดยเฉพาะการทำวิจัย
หลักการเรียนปริญญาเอก ต้องมาเรียนตรงเวลา อ่านล่วงหน้า เข้าสัมนาวิชาการ หมั่นพบอาจารย์ที่ปรึกษา พอเราได้แก่นหลัก ๆ เหล่านี้ เราก็จะสามารถจัดการเวลาอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่
ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวบันทึก และทำดัชนี เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น
หลังจากเราทำงานหลัก ๆ เสร็จแล้ว เราต้องทำการผ่อนคลายตนเอง จะต้องมีการกำหนดช่วงเวลาที่เราจะสามารถผ่อนคลายได้ เพราะตัวเราจะต้องมีหลายมิติ
เทคนิคการเรียนให้ดี (การเขียนรายงาน)
ต้องอ่านเยอะ ๆ เพื่อให้เกิดข้อมูลในใจ จนสามารถประมวลผล จนสามารถเขียนออกมาได้
ต้องทำการ Shopping จากเวทีสัมนา เพื่อรวบรวมแนวคิดของอาจารย์จากแนวต่าง ๆ และนำมาใช้
การเขียนให้ตรงประเด็น
วางโครงร่างการเขียนรายงานให้เรียบร้อยก่อน กล่าวคือ เราเริ่มต้นอย่างไร ตอนเราจบลงท้าย ต้องสัมพันธ์กับสิ่งที่เราเริ่มต้น คล้าย ๆ กับการทำวิจัย
ไม่จำเป็นว่าอาจารย์ชอบแบบใด แล้วเราต้องทำแบบนั้น แต่เราก็ต้องนำเสนอให้ถูกต้อง มิใช่นำเสนอโดยมิได้ศึกษาหรือเก็บข้อมูลมาก่อน
หัดเขียนหนังสือถ้ามีโอกาส เช่น การหัดให้เด็กต้องเขียนหนังสือแต่เด็ก
เราต้องรู้ก่อนว่า เราจะเขียนอะไร
หลักฐานทางวิชาการเป็นเรื่องสำคัญ โดยการทำบรรณานุกรมไว้ก่อนโดยทันที ค้นหาจากเอกสารต่าง ๆ เช่น การค้นแล้วเจอคีย์เวิร์ด ได้ ประเด็นที่ได้ เราก็สามารถ
การนำเสนอได้อย่างมี Knowledge
เราต้องมี Logic ที่มีความต่อเนื่องในรายงาน เช่น เริ่มต้นอย่างไร เราต้องจบอย่างนั้น อาจมีความท้าทายในเชิงคำถามสักเล็กน้อย
เราต้องตั้งธง ซึ่งในที่นี้มี 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ
เขียนให้ได้ดีอย่างไร ขั้นแรก เราต้องหาตัวตนทางวิชาการของเราให้เจอก่อน เช่น เราชอบทุนนิยม เราชอบโลกาภิวัมน์ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเขียนรายงานในสาขาวิชาที่เราเรียน มาใช้ประกอบในการเขียนรายงาน และพอเราเรียนจบ เราจะได้องค์ความรู้ จนสามารถที่เราจะคิดว่า สามารถนำไปตีพิมพ์ได้ (สำคัญมาก) เพราะเราจะสามารถนำมาใช้อ้างอิงประสบการณ์การเขียนเชิงวิชาการ
รายงานทุก ๆ ฉบับที่เราได้ทำไป ให้เก็บไว้ เพื่อถึงเวลาในอนาคต เราก็นำขึ้นมาปรับปรุงเนื้อหาให้ถูกต้องและมีความทันสมัย เพื่อนำไปจัดพิมพ์ได้อย่างง่ายดาย
เขียนให้ตรงใจอาจารย์อย่างไร ยกตัวอย่างการเขียนบทความเชิงเปรียบเทียบ เช่น เทียนอันเหมิน กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม แล้วอาจารย์ไม่เห็นด้วย แต่หากเรามีความพยายามและมีการยกหลักฐานทางวิชาการประกอบการเขียน ถือว่าเราผ่านในใจอาจารย์ได้
การโยงเรื่องที่เราสนใจ มาประกอบการเขียนรายงานส่งอาจารย์ เราต้องเขียนเนื้อเรื่องเหล่านี้ให้เชื่อมโยงกัน (เรื่องที่เราสนใจ กับหัวข้อที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์) นำมาร้อยเรียงกันให้สมบูรณ์
ทุกคำที่เราเขียน ต้องมีความระมัดระวัง จะต้องมีทฤษฎีรองรับ เพราะจะทำให้รายงานเรามีความแน่นขึ้น และโดยเฉพาะตตอนจบจะต้องมีความสัมพันธ์กัน
ขั้นตอนการเรียนปริญญาเอก
มีเรียนจำนวน 10 วิชา แบ่งเป็น 7 วิชาหลัก เพื่อใช้ในการสอบ QE ในสามวิชาที่เหลือ เป็นการเรียนที่ไม่เอาคะแนน
มีการสอบปากเปล่า ซึ่งจะต้องตอบคำถามทั้งในสาขาวิชาเอกที่เราเรียนเป็นหลัก และสาขาวิชาโทที่เราเลือก
มีการทำและการสอบวิทยานิพนธ์ ภายหลังที่เราสอบ QE ผ่านแล้ว (เรียนคอร์สเวิร์คสองปี)
การสอบวัดคุณสมบัติ
มีการรีไทร์ในการสอบภายหลัง
การเตรียมตัวทำอย่างไร
ต้องสอบวิชาเอก และสองวิชาโท
อ.ปิยากร
ทำการสั่งสมความรู้ตลอดการเรียน เพื่อเตรียมตัวมาอย่างดี อันได้แก่ เข้ารับการอบรม เข้าสัมนา ทำรายงาน อ่านหนังสือ
การสอบในลักษณะนี้ เป็นการสอบเพื่อว่า อะไร และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เป็นการบอกให้เห็นถึงเหตุผลที่เราตอบน้นเพราะอะไร ไม่ใช่เรื่องถูก-ผิด ของคำตอบหรือคำถาม
การสอบ เป็นการวัดว่าเรามีระเบียบ มีคุณสมบัติที่เรามาเรียนหรือไม่ มีวินัยในการเรียน ซึ่งก็จะเป็นที่มาของความเมตตาจากอาจารย์ที่สอนเรา
อ.พีรธร
ต้องมีวิธีการอ่านหนังสือที่ดี เช่น อ่านสามรอบ คือ อ่านละเอียด อ่านช้อตโน้ต และอ่านเพื่อหาว่าแต่ละประเด็นหรือแต่ละหน้ามีจุดเชื่อมโยงกันอย่างไร
ไม่ใช่การอ่านเพื่อจำ วัตถุประสงค์ เป็นการอ่านเพื่อความเข้าใจ เป็นการวัดว่าเรามี Logic ที่ดีพอหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องมีความจำว่าได้หรือไม่
ต้องไม่ละเลย “พื้นฐาน” ของความรู้ที่เราเรียนมาตลอดสองปี
อ.จักรี
QE เป็นการสอบที่ดีมาก เพราะเป็นการสอบที่ประมวลความรู้ เป็นการสอบที่มีข้อเขียน และปากเปล่า และเราต้องจำให้ได้ว่าเราได้ตอบอะไรไป นำกลับมาเช็คเพื่อหาจุดบกพร่อง เป็นที่มาในการอุดช่องว่างในการสอบออรัล
ข้อจำกัดของ QE คือ การที่เราตอบในชุดทฤษฎีที่เราชอบ และพบว่าอาจารย์ที่มองในมุมที่แตกต่างเขาจะเริ่มตั้งคำถามโต้แย้ง ซึ่งจะสอบถามมาหาเราว่า ทฤษฎีกระแสหลักเป็นอย่างไร ซึ่งเราต้องอย่าพลาด เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่จะบอกว่าเราจะผ่านหรือไม่ผ่าน
อ.ชาญชัย
เป็นห่วงวิชาโท ดังนั้นเราต้องทำการ Sit in กับวิชาที่เพื่อนเราเรียนเป็นวิชาเอก เพื่อให้เราได้เห็นภาพรวมของสาขานั้น ชุดทฤษฎีเหล่านั้น โดยที่เราไม่ต้องแบกเนื้อหาในการทำรายงาน
การทำวิทยานิพนธ์ (การแบ่งเวลา)
การเรียนในระดับปริญยาเอก จะมีไทม์ไลน์ที่บังคับให้เราต้องทำส่งอยู่ตลอดเวลา
อ.ปิยากร
ต้องรับผิดชอบตามไทม์ไลน์ เพราะเป็นกำหนดกฎเกณฑ์ที่เราไม่อาจหนีได้ เราต้องเผชิญกับมัน
เราต้องหาแรงบันดาลใจ จากคณาจารย์ที่เราหมายตาไว้ เพื่อเป็นหลักในการทำวิทยานิพนธ์ เราต้องหาให้เจอ คนที่เป็นต้นแบบของเรา เพื่อวางแผนร่วมกัน เพื่อให้ข้อคิดว่าเราจะทำเรื่องอะไร เป็นการกำหนดเป้าหมายว่าเราอยากจะเป็นอะไร เช่น เราอยากเป็นอาจารย์ เช่นอาจารย์แนะนำแนวคิดเรื่องสังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ
หมั่นพบอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ แก่ตามที่อาจารย์แนะนำโดยทันที
ต้องเขียนแม้จะไม่สละสลวย แล้วส่งให้อาจารย์ตรวจทาน ลงเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงเนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง และพบอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ
การติดต่ออาจารย์ผ่านทางอีเมล์
อ.พีรธร
ต้องหาอาจารย์ที่ปรึกษาให้เร็ว เช่น ได้จากห้องสอบออรัล อาจารย์อาจจะชวนเรา เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ มีการพูดคุยกันบ่อยมาก
อ่านงานตามที่อาจารย์มอบหมายให้เราอ่าน หากเราถอด Logic ออกมาได้ เราก็จะได้รับการแนะนำให้อ่านเพิ่มเติม
ไปทำการ Sit in เพื่อค้นหาประเด็นจากวิชาในสาขาอื่น เช่น วิชากฎหมายมหาชน
การเก็บข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องบริหารเวลาให้ดี
การวางแผนเรื่องเวลา เช่น การไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการระดับสูง ที่มีระยะเวลาให้กับเราน้อยมาก เราต้องจัดตารางเวลาให้ดี
อ.จักรี
เป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่างนิสิตกับอาจารย์ที่ปรึกษา เราจะต้องสม่ำเสมอในการทำการบ้านและปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา
เราจะเริ่มต้นอย่างไร ก็คือ การเริ่มโครงร่างวิทยานิพนธ์ หากทำได้ดีเท่าไร เราจะทำได้ดีมากขึ้น จะเป็นประโยชน์
เราจะต้องหมั่นปรึกษาอาจารย์ต่าง ๆ
เราจะต้องไปพบอาจารย์ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นกำไรของตัวเรา ยิ่งเราเจออาจารย์ที่เก่งมากเท่าไร งานของเราจะดีมากขึ้นทุกสุด
อ.ชาญชัย
ต้องใช้เวลาในการค้นหาหัวข้อที่จะทำให้ได้
มองให้ออกว่าในการทำวิจัยระดับปริญญาเอกให้ออก คือ “การสร้างองค์ความรู้” คือ เราจะต้องเขียนบทที่ 2 ให้เสถียรมากที่สุด เช่น มันน่าจะมีทฤษฎีอะไรอีกไหม ที่จะมารองรับแนวคิดหรือหัวข้อการวิจัยของเราอีกหรือไม่ เราจำเป็นต้องทำอะไรหรือสร้างขึ้นมารองรับ เพราะจะเป็นราก,ฐานของการทำวิจัยที่ดี จะทำให้เราสามารถมาคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาได้อย่างมาก
การค้นหาข้อมูลจากข่าวสารบ้านเมือง เช่น หนังสือพิมพ์ แล้วเราก็เข้าไปศึกษาให้มากที่สุด เราก็จะใช้เวลาในส่วนนี้ได้มากที่สุด
เราต้องหาจุด “กึ่งกลางหรือความพอดี” กับการทำงานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ไม่จำเป็นต้องเลียนแบบในทุกเรื่อง จะทำให้การทำงานของเราได้อย่างราบรื่น
ความรู้สึกหลังจบ
อ.ปิยากร
สามารถทำงานในเชิงวิชาการได้อย่างที่เราตั้งใจไว้
สามารถนำความรู้ที่เราได้จากชั้นเรียน ไปถ่ายทอดให้แก่นักศึกษา นิสิตที่เราได้สอน
เป็นจุดเริ่มต้นในการเริ่มต้นอาชีพของเรา
ทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้น มีความภาคภูมิใจได้มากขึ้น
ภายหลัง เราได้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องหรือไม่
อ.พีรธร
การคงความเป็นคนจบปริญญาเอก เป็นเรื่องที่ยากกว่า เพราะเราจะได้รับความคาดหวังจากสังคมรอบข้างสูงมาก ได้แก่
การสอนหนังสือ ให้ได้สอดคล้องกับองค์ความรู้ การพัฒนาคนที่เราสอนให้สามารถดึงศักยภาพของเขาออกมาให้มากที่สุด ทำอย่างไรให้เขาสามารถรู้ได้มากขึ้น เราจึงต้องออกแบบการสอนใหม่
การทำวิจัย ในปีหนึ่งทำสองถึงสามเรื่อง เราจะได้รับความคาดหวังจากที่ต่าง ๆ สูงมาก และเราต้องทำ แม้จะเป็นเรื่องที่เราไม่ถนัด และต้องนำไปตีพิมพ์ให้ได้
งานบริการวิชาการ มาจากบทบาทของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด จะเป็นที่พึ่งขององค์กรต่าง ๆ เช่น ที่ปรึกษาของ อบต. ที่ปรึกษาของกองทัพ งานด้านชุมชนเข้มแข็ง
งานของมหาวิทยาลัย เช่น งานบริหาร ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร เราจะต้องฝึกฝีมือในฐานะนักบริหาร เพราะการจบมาทางสาย Public Administration
กล่าวโดยสรุป คือ การที่เราต้องอยู่ในฐานะองค์ความรู้ของการเป็นปริญญาเอก และการฝึกฝนในด้านต่าง ๆ อย่างมาก
อ.ชาญชัย
หากอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย และเราจบจากรัฐศาสตร์ เราก็จะได้รับงานบริหาร
การฝึกเขียนงานวิจัย บทความ เพื่อนำไปใช้ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ของตัวเรา
อ.จักรี
จะคล้ายกับทุกท่าน คือ
เราจะถูกถามเสมอว่า เราเขียนบทความอะไร เราจะนำเสนออะไร เกรดภายหลังจากที่เราจบแล้วไม่เกี่ยวเลย เป็นการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ
เราจะต้องอัพเดทความรู้ตลอดเวลา
เราต้องเป็นแม่แบบให้แก่คนอื่น
คำแนะนำเพิ่มเติม
การมาเรียนในระดับปริยญาเอกของ จุฬา น่าจะตอบโจทย์ให้เราเกิดความภาคภูมิใจในความรู้ที่เราได้รับ ที่สามารถนำไปถ่ายทอด จะทำให้เราสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างดี
การเรียนปริญญาเอก
คือ การสร้าง Mind Set (กรอบความคิด) ให้เราเข้าใจได้ดีขึ้น อันได้แก่
คือ รู้ว่าเราเรียนเพื่ออะไร เพื่อให้เราได้เรียนรู้ว่าเราตัวเล็ก แต่เราสามารถทำอะไรได้อย่างมาก มีสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจอีกมา
คือ รู้ว่าเราเรียนรู้อะไรจากตัวเราได้บ้าง เราสามารถปล่อยศักยภาพอะไรออกมาได้บ้าง
คือ เป็นการเรียนเพื่อคนรอบข้าง เพื่อที่เราจะสามารถไปสร้างสิ่งที่ดี ถ่ายทอดความรู้ เรียนรู้คนรอบข้าง ให้สังคมที่ดีขึ้น
การเรียนปริญญาเอก เราอาจหาทุนมาสนับสนุนเรา
การเรียนปริญญาเอก ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา เราเรียนได้ ถ้าเรามีวินัย มีระเบียบในการทำงาน ฯลฯ
กล่าวโดยสรุป
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การทำงานร่วมกัน
ความอดทน
ความมีระเบียบวินัย
การรู้จักวางแผนและการจัดการที่ดี
วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการรับสมัครนักศึกษาระดับป.โท-ป.เอก
ตอบลบหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)
หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (DBA)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (MPA)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต (MPA&DPA)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (DPA)
ภาคการศึกษาที่ 1 / 2559
ตั้งแต่บัดนี้ – 31 กรกฎาคม 2559
สมัครออนไลน์ http://rcim.rmutr.ac.th/?page_id=140
สามารถสอบถามรายละเอียดการสมัครได้ที่
วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
96 หมู่ 3 ถนนพุทธมณฑลสาย 5 ต.ศาลายา
อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
โทร 0-2441-6067, 08825-50847
โทรสาร 0-2441-6067
อีเมล rcim@rmutr.ac.th
http://rcim.rmutr.ac.th/