หลายวันก่อน หนึ่งในเพื่อนสนิทหลาย ๆ คนได้โทรมาสอบถามผม เพื่อขอคำปรึกษาเรื่องการลงทุน พร้อมคำถามคลาสสิคที่ผมได้นำเสนอไปในครั้งก่อนว่า
“ถ้าเขาหรือเธออยากจะเริ่มต้นลงทุน เขาจะต้องเริ่มต้นอย่างไรดี”
หลังจากได้ฟังข้อมูลจากเพื่อนคร่าว ๆ แล้ว
ผมก็พอจะเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนดีกว่าเขาเริ่มอยากจะเริ่มต้นเปิดบัญชีเพื่อ
ซื้อ-ขาย หุ้น ตามกระแสที่คนนิยมกันในปัจจุบัน
พอได้ฟังผมก็ถามคำถามมาตรฐานของผมที่มักจะใช้ถามทุก
ๆ คนที่มาปรึกษาเรื่องการลงทุนกลับไปว่า
ทุกวันนี้หน่วยงานที่ทำงานอยู่มีกองทุนสำรองชีพให้ไหม เพื่อนก็ตอบว่ามี และเมื่อคุย ๆ กันไปผมก็ได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้นว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของหน่วยงานเขามีขนาดใหญ่พอสมควร
(ขนาดของสมาชิกน่าจะถึงหลัก 5,000 คนขึ้นไปทีเดียว) และมีเงื่อนไขที่ดีด้วย คือ
ข้อกำหนดของกองทุนหน่วยงานมีอัตราเงินสะสมให้กับตัว “ลูกจ้าง” ตั้งแต่เริ่มต้นที่ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สะสมได้ตั้งแต่
2 - 15% ของเงินเดือน และเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนให้อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า
"เงินสมทบ" กฎหมายกำหนดให้สมทบในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง[1]
ซึ่งหมายความว่า
หากเราเลือกอัตราออมสูงสุดที่ข้อบังคับกองทุนได้กำหนดไว้ เช่น หากกำหนดให้ลูกจ้างสามารถสะสมเข้ากองทุนสูงสุดได้ที่
10% นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าที่เราสะสม ซึ่งนับเป็นอัตราเงินสมทบที่สูงมาก ให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นเรากำลังมีเงินเดือนขึ้นเดือนละ
10% เลยไงครับ
แต่หลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลจากเพื่อนก็รู้สึกแปลกใจไม่น้อยทีเดียว เมื่อเพื่อนบอกว่าเขาเลือกในอัตราต่ำสุด คือ 3% และไม่เคยคิดที่จะอ่านเอกสารที่กองทุนส่งมาให้เท่าไรเพราะเห็นว่ามีแต่ตัวเลข
ยกเว้นตอนปลายปีเพราะจะใช้ลดหย่อนภาษี
รวมถึงไม่เคยเข้าร่วมประชุมกองทุนแต่อย่างใด
โดยเพื่อนได้ให้เหตุผลว่า เขาไม่เคยเข้าใจหรือทราบมาก่อนเลยว่าการที่เขาเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
และต้องจ่ายเงินสะสมเข้าทุกเดือนเป็นเรื่องของการลงทุน เพื่อนมองแต่เพียงว่าคนใกล้ ๆ ตัวต่างก็เป็นสมาชิกกัน และหน่วยงานก็มีนโยบายรณรงค์ให้พวกเขารู้จักออมเงินระยะยาวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างจากสังคมรอบตัวเขา จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนและเลือกในอัตราที่ต่ำที่สุดที่จะไม่กระทบต่อรายได้ประจำของตน
โดยที่ตนเองก็มิได้เดือดร้อนหรือมีครอบครัว
(กระแสคนโสดในปัจจุบัน) ที่ต้องใช้จ่ายมากมายแต่อย่างใด คิดแต่เพียงจะนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นแทน เช่น
ตลาดหุ้น ซึ่งเพื่อน ๆ
ที่อยู่รายรอบต่างก็ทำและคิดอย่างเดียวกันแทบทั้งหมด
จากเรื่องราวที่ผมได้รับฟังมาข้างต้น ทำให้เห็นได้ถึง “ช่องว่าง (GAP)”
ทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่ใหญ่ทีเดียว นั่นคือ
คนส่วนใหญ่
(ในกลุ่มที่ทยอยกันมาขอคำปรึกษากับผมเรื่อย ๆ) มักจะยังมองไม่เห็น หรือยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญ
“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” คือ การลงทุนที่ดีมากอย่างหนึ่ง
และเป็นรูปแบบการลงทุนที่ใกล้ตัวของเรากันอย่างยิ่งในปัจจุบัน ช่องว่างทางความคิดดังกล่าวทำให้คนส่วนใหญ่ที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้นมองข้ามการลงทุนในรูปแบบนี้กันไปอย่างมาก โดยผ่านการจ่ายเงินสะสมเข้าค่อนข้างน้อย
(ขั้นต่ำสูด)
การไม่สนใจติดตามข่าวสารผ่านการประชุมประจำปี ไปจนถึงการไม่มีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนลูกจ้างเข้าไปเป็นตัวแทนเพื่อดูแลผลประโยชน์ของตัวเรากันอย่างมากทีเดียว
ครั้งหน้า จะมาเล่าถึงวิธีการเล็ก ๆ น้อย ๆ
ที่เราสามารถนำไปปรับใช้แบบทีละนิดทีละหน่อยกับเงินออมที่เราสะสมโดยการฝากไว้กับธนาคารกันครับ
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข
ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1 (IC complex 1)
สำนักงานกำกับหลัทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น