มีโอกาสหยิบหนังสือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (The Fourth Industrial Revolution, เคล้าส์ ชวาบ. ผู้ก่อตั้งและประธานสภาเศรษฐกิจโลก : World Economic Forum : 2016, แปลโดย ศรรวริศา เมฆไพบูลย์) ขึ้นมาอ่าน ก็สัมผัสถึงกระแสความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ที่ผู้เขียนได้กล่าวถึง
จากข่าวการปิดตัวการให้บริการของธนาคารสาขาจำนวนมาก หรือการยุติการผลิตของนิตยสารเล่มต่าง ๆ และหันไปให้บริการผ่านสื่อเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิดเพจเฟซบุ้คในนิตยสารจำนวนไม่น้อย
จากข่าวการปิดตัวการให้บริการของธนาคารสาขาจำนวนมาก หรือการยุติการผลิตของนิตยสารเล่มต่าง ๆ และหันไปให้บริการผ่านสื่อเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิดเพจเฟซบุ้คในนิตยสารจำนวนไม่น้อย
ล่าสุดที่สถานีโทรทัศน์ชื่อดังในอดีตที่ต้องมีการปลดพนักงานบางส่วนออกเพื่อปรับแนวทางการบริหารและการให้บริการด้วยนวัตกรรมใหม่
ๆ
ถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจในปัจจุบัน และเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจในปัจจุบัน และเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ความท้าทายต่อแนวทางดั้งเดิม
(Disruptive) เป็นเสมือนความเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันและรุนแรงในโลกปัจจุบัน และเกิดขึ้นแทบในทุกวงการ ยากที่จะมีใครทานต่อสิ่งเหล่านี้ได้
ด้วยโลกได้เข้าสู่ช่วงต้นของ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ตามที่หนังสือได้กล่าวไว้ โลกที่กำลังถูกผลักดันให้เข้าสู่จุดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ด้วยโลกได้เข้าสู่ช่วงต้นของ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ตามที่หนังสือได้กล่าวไว้ โลกที่กำลังถูกผลักดันให้เข้าสู่จุดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
มีข้อมูลว่า
“พลังในการประมวลผลของกูเกิลในการตอบเสิร์ชของเราแต่ละครั้งในขณะนี้
เทียบเท่ากับการประมวลผลของโครงการอะพอลโลทั้งภาคพื้นดินและอวกาศ”
และยังมีการทำนายว่า ภายในปี 2025 “บนท้องถนนในอเมริกา ณ ขณะนี้
มีรถยนต์ไร้คนขับวิ่งถึง 10 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ในฮ่องกงมีการใช้สมองกล (AI) มาร่วมเป็นกรรมการบริษัทแล้ว”
ฟังดูแล้วน่าทึ่งมาก..
ก็ไม่น่าแปลกใจที่สัญลักษณ์ที่เป็นเสมือนตัวแทนของโลกยุคก่อน
เช่น นิตยสารต่าง ๆ หรือธนาคารประเภทให้บริการเป็นสาขา กำลังจางหายไปจากที่เราเคยสัมผัสได้
และอาจจะไม่อยู่ในความทรงจาของเด็ก ๆ รุ่นใหม่ที่จะเติบโตขึ้นมาในอนาคต
อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
ก็นับเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการในภาคต่าง ๆ สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นเพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร
หรือการให้บริการ รวมถึงการเป็นแหล่งข้อมูลในการเผยแพร่เรื่องราวและข่าวสารในแวดวงที่ผู้บริโภคสนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในลักษณะก้าวกระโดดกันอย่างชัดเจนมากก็คือ
ในภาคธนาคารที่ในปัจจุบัน ผมคิดว่าเกือบทุกท่านจะต้องเคยใช้งานการชำระเงินผ่านระบบพร้อมพ์เพย์
และหรือระบบ QR Code ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายที่เราสามารถพบเห็นได้แม้กระทั่งร้านค้าริมทาง
ถือเป็นการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิตอลใหม่ มาใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตในสาขาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“เมื่อความเปลี่ยนแปลงมาถึงเราจะรับมืออย่างไร” ผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ไปจนถึงผู้ให้บริการในภาคต่าง ๆ ที่เราใช้งานได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรองรับความเปลี่ยนแปลงผ่านเครื่องมือใหม่
ๆ
ทำให้เห็นถึงความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่จะร่วมกันผลักดันและพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน
ทำให้เห็นถึงความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่จะร่วมกันผลักดันและพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน
ทั้งตื่นเต้นและท้าทายต่อความเปลี่ยนแปลงต่ออนาคตที่จะมาถึงทีเดียวครับ
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น