ซึ่งลักษณะหรือรูปแบบการจัดนั้น ไม่จำเป็นต้องจัดใหญ่แต่อย่างใด อาจเป็นการจัดสัมมนาเล็ก ๆ ที่ประชาสัมพันธ์ในองค์กรหากใครสนใจ ก็เดินเข้ามาฟังได้ โดยเริ่มต้นที่คลาสเล็ก ๆ สัก 4-6 คน ก็เพียงพอ
โดยวิทยากรนั้นก็ใช้การเชิญบุคลากรในหน่วยงานที่องค์กรเล็งเห็นว่ามีความเป็น Best Practice หรือคนต้นแบบที่ดี ที่น่าจะมีความรู้ในระดับหนึ่งมาถ่ายทอด ซึ่งอาจจะจัดให้มีลักษณะเช่นนี้สักเดือนละครั้ง
การจัดให้มีสัมมนาแลกเปลี่ยนลักษณะนี้ในองค์กร แรก ๆ อาจจะดูขัดเขินในตอนแรก แต่ประโยชน์สุดท้ายจะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรในองค์กรในระยะยาวโดยเฉพาะกับกลุ่มพนักงานที่พึ่งเริ่มต้นทำงาน ที่จะทำให้เขามีทิศทางอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นทำงานในเรื่องของความคิดในการบริหารเงิน
เพราะการนำเสนอในลักษณะเช่นนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของความรู้ทางการเงิน เนื่องจากเราสามารถค้นหาความรู้เกี่ยวกับเงินหรือแม้แต่เรื่องใด ๆ ในการทำงานจากอินเตอร์เน็ตได้อยู่แล้วในปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องของการนำเสนอ “วิธีคิดและตัวตน” ของผู้บรรยายหรือแม้กระทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการถกแลกเปลี่ยนในแต่ละครั้ง เป็นการแสดงออกถึง “เหตุผล” ที่อยู่เบื้องหลังในการทำสิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้ทำไปแล้วนั่นเอง
ถ้าเราได้เคยติดตามข่าวสารในเรื่องเศรษฐกิจระดับโลก เราอาจจะเคยได้ยินการประชุมของ “สภาเศรษฐกิจโลก
หรือ World Economic Forum (WEF.)”
ซึ่งเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ได้จัดตั้งโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์
(เคล้าส์ ชวาบ, ผู้ก่อตั้งและประธานสภาเศรษฐกิจโลก. การปฏิวัตอุตสาหกรรมครั้งที่
4 (The Fourth Industrial Revolution) : 2016))
การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนดังกล่าว มีการเชิญมีผู้เข้าร่วมการประชุม
ณ เมืองดาวอส เป็นประจำทุกปี ทั้งระดับผู้นำ
ผู้บริหารระดับสูงจากภาคธุรกิจ องค์การระหว่างประเทศ และนักวิชาการจากทั่วโลก
มาร่วมกันถกแลกเปลี่ยนในเรื่องเศรษฐกิจและทิศทางใหม่ ๆ
ที่เกิดขึ้นรวมถึงการตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ
ด้านเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบหรือการเตรียมความพร้อมรับมือร่วมกัน
จนนำไปสู่การสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ
และขยายเวทีการแลกเปลี่ยนไปสู่ระดับภูมิภาคอื่น ๆ ที่มิใช่เฉพาะสถานที่ที่เริ่มต้น ซึ่งในที่นี้รวมถึงประเทศไทยด้วยครับ
ที่ยกประเด็นเรื่อง
WEF มากล่าวถึงก่อนหน้านี้
ผมเพียงแค่ต้องการยกตัวอย่างรูปแบบการจัดให้มีการหารือแลกเปลี่ยนมุมมองภายในองค์กร อาจจะฟังดูเหมือนค่อนข้างใหญ่โต แต่ในมุมมองผมไม่แตกต่างกันครับ
ถ้าในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค
ไปจนถึงระดับโลก
ยังต้องมีการจัดเวทีเฉพาะไว้เพื่อให้ตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ
มาร่วมกันหารือหรือถกแลกเปลี่ยนกันในเรื่องที่จำเพาะเจาะจงเช่นเศรษฐกิจ ผมมองว่าในระดับบุคคลหรือระดับองค์กรก็ไม่แตกต่างกัน เพียงแต่ประเด็นที่เราจะนำมาร่วมกันแลกเปลี่ยนนั้น
ก็อาจจะตีกรอบให้เล็กลงในระดับที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา เช่น เรื่องการบริหารเงินส่วนบุคคล ซึ่งในอนาคตก็อาจพัฒนาไปสู่การแลกเปลี่ยนมุมมองในการทำงานอื่นๆ ได้มากขึ้น
โดยการนำรูปแบบเช่นนี้มาใช้ให้มีประสิทธิภาพภายในแต่ละหน่วยงาน
เพื่อให้กระชับมุมมอง เวลาที่เราทำลักษณะ Forum ภายในหน่วยงานขึ้น
ประเด็นประสบการณ์ที่เราสามารถนำมาแลกเปลี่ยนมุมมองกัน ก็คือ
“ประโยชน์”
ที่เราได้รับจากวิธีการคิดหรือที่ได้ลงมือทำ ข้อเสียหรือผลกระทบที่เราควรระมัดระวัง เป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่ ถ้าทำแล้วเป็นอย่างไร ทำไมถึงนำเสนอวิธีคิดแบบนั้น
สุรศักดิ์ อัครอารีสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น